ประวัติความเป็นมาของแบรนด์Dior!!!


ประวัติของแบรนด์Dior

    




คริสเตียน ดิออร์ เกิดเมื่อวันที่ 21 มกราคม ปี 1905 ณ เมืองกร็องวิลล์ ภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศฝรั่งเศส สองสามีภรรยานามว่า เมเดอลีน และ มอริส ดิออร์ วัยเด็กของเขาคริสเตียนเป็นเด็กชายผู้เรียบร้อย และละเอียดอ่อน งานอดิเรกก็เห็นจะเป็นการชื่นชอบออกแบบและตกแต่งบ้าน เมื่อโตขึ้นมาจิตวิญญาณของศิลปินที่ไหลเวียนอยู่ในกระแสเลือดของเขาอย่างเต็มเปี่ยม ก็เริ่มแสดงให้หลายคนได้ประจักษ์ เมื่อความชื่นชอบของเขายังไปเกี่ยวข้องกับ ศิลปะการเต้นบัลเลต์และงานจิตรกรรม อีกทั้งคนยังรู้จักคริสเตียนในฐานะของนักออกแบบเสื้อผ้าให้กับคนในครอบครัว กระทั่งเมื่อคริสเตียน ก้าวเท้าเข้าสู่ช่วงเวลาวัยรุ่น เขาคือคนที่คลั่งไคล้กับชีวิตในแวดวงผู้เชี่ยวชาญทางด้านศิลปะอย่างโงหัวไม่ขึ้น คริสเตียนมักจะแอบครอบครัวเข้าไปพบปะพูดคุยกับเหล่าผู้เชี่ยวชาญทางด้านศิลปะอยู่บ่อยครั้ง
หนึ่งในนั้นยังรวมไปถึงจิตรกรรมระดับโลกอย่าง ปิกัสโซ่ อีกด้วย





                                                            



               


     แต่พ่อของเขาได้ออกคำขาดกับเส้นทางชีวิตของเขาด้วยการบังคับให้เรียนวิชานักการฑูตแต่เขาก็ไม่ประสบความสำเร็จ พ่อของเขาจึงยอมล้มเลิกความตั้งใจ หลังจากนั้นคริสเตียนก็ได้เริ่มเปิดห้องแสดงภาพเขียนเป็นของตัวเอง ครอบครัวเขายังยึดติดกับค่านิยมที่รับไม่ได้กับอาชีพค้าขายด้อยค่าเช่นนี้ หากในช่วงแรกนั้น กิจการแกลอรี่เป็นไปได้อยากราบรื่น จนกระทั่งเมื่อคริสเตียนต้องสูญเสียแม่ อีกหนำซ้ำยังโชคร้ายที่พ่อของเขายังต้องประสบกับสภาวะล้มละลายจากตลาดหุ้น ดังนั้นแล้วไม่เพียงแต่แกลอรี่ของเขาที่ต้องปิดตัวลงอย่างน่าเสียดาย เขาไม่ต่างจากคนไร้บ้าน



 คริสเตียนพัฒนาฝีมือด้านการออกแบบอยู่ภายในห้องใต้หลังคาของบ้านเพื่อนคนนี้ เขาขายงานออกแบบหมวก และเสื้อผ้าให้กับ Haute Couture House กระทั่งฟ้ามีตา ส่งให้ผลงานของเขานั้นกลายเป็นที่นิยม และขายดีอย่างมาก จนทำให้คริสเตียนมีรายได้พอที่จะส่งเสียให้พ่อกับน้องของตัวเอง และอย่างที่ใครเขาว่ากัน ฟ้าหลังฝนสวยงามเสมอ เมื่อในที่สุดผลงานของคริสเตียนได้ไปเข้าตาของ โรเบิร์ต ปิเกต์ ดีไซเนอร์ชื่อดังในสมัยนั้น จึงได้มาทำงานร่วมกันเมื่อปี 1938 ในวัย 33 ปี จนทำให้เขาเป็นที่รู้จักมากขึ้น







 ในปี ค.ศ. 1947 คริสเตียน ดิออร์ ได้เปิดตัวแฟชั่นแนวใหม่ที่เราทุกคนต่างรู้จักกันในนาม “New Look” แฟชั่นที่ได้รับความนิยม ด้วยการริเริ่มให้เหล่าสุภาพสตรีแห่งยุโรปกลับมาแต่งตัวสวยได้อีกครั้ง หลังจากความรวดร้าวและความเบื่อหน่ายเต็มทนจากสงครามโลกครั้งที่ 2 กับดีไซน์อันเป็นเอกลักษณ์ เสื้อไหล่แคบ ที่มาพร้อมกับกระโปรงยาว ซึ่งเหล่านี้เองที่มาแทนที่ เสื้อรูปแบบไหล่กว้างและกระโปรงสั้นทรงตรงในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 อีกทั้งแนวความคิดในครั้งนี้ยังได้สร้างสรรค์ออกมาเป็นคอลเล็กชั่น ซึ่งจะเน้นไปถึงการออกแบบเสื้อผ้าที่หรูหรา กับกระโปรงฟูฟ่องบานที่จะทำให้ผู้หญิงรู้สึกสดชื่นราวกับดอกไม้ ได้รับอิทธิพลเอเชียอย่างประเทศญี่ปุ่น ทำให้นิวลุคมีกลิ่นอายแบบโอเรียนทัล (สังเกตได้จากหมวก) และผลงานชุดนี้ของเขานั้นก็ได้สร้างชื่อให้แก่เขา จนเขาได้รับการขนานนามว่าเป็นดั่ง Style Dictator



ในช่วงยุคสุดท้ายของคริสเตียน ดิออร์ เขายังผลิตผลงานใหม่ๆ ออกสู่ตลาดแฟชั่นอยู่ไม่ขาดสาย ที่ยังคงให้ความสนใจ และใส่ใจในฝีมือการตัดเย็บ ผลงานการออกแบบของเขา ไม่ว่าจะเป็น New Look , Oval Line , Open Tulip , Long Line ,Tulip Line, หรือ A Line , H Line ล้วนแล้วแต่เน้นความละเอียดอ่อนในการตัดเย็บด้วยกันทั้งสิ้น กระทั่งในช่วงฤดูใบไม้ร่วงปี 1957 คริสเตียน ดิออร์ ยังได้สร้างสรรค์ผลงานชิ้นโบว์แดงอย่าง Fuseau Collection หรือ Spindle ออกมา เพื่อเป็นดั่งจดหมายลา จดจารึกไว้ที่เป็นผลงานชิ้นสุดท้ายทิ้งไว้บนโลกแฟชั่น ก่อนที่คริสเตียนจะเสียชีวิตลงด้วยโรคหัวใจเมื่ออายุได้ 52 ปี














อารยธรรมเติร์กเมนิสถาน

     เติร์กเมนิสถานเป็นประเทศที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรต่างๆ โดยเฉพาะที่บริเวณรอบทะเลสาบแคสเปียนนั้น อุดมไปด้วยน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ ซึ่งรัฐบาลเติร์กเมนิสถาน ได้มีความพยายามที่จะสร้างท่อส่งก๊าซไปยังตุรกี แต่บริษัทของอเมริกาไม่พอใจ เพราะต้องผ่านอิหร่านก่อน

💜วิถีชีวิต และวัฒนธรรม

     นับถือศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ ชาวเติร์กเมนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย ในสภาพภูมิประเทศที่แห้งแล้ง เป็นชนชาติที่ไม่ชอบความรุนแรง และยังคงยึดถือธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิม ซึ่งเป็นลักษณะวัฒนธรรมเฉพาะกลุ่ม

💜การแต่งกาย

     ชาวเติร์กเมนยังคงรักษาการแต่งกายตั้งเดิมเอาไว้คือ ผุ้ชายสวมกางเกงขายาวหลวมๆ สีน้ำเงิน สวมร้องเท้าบูททับขากางเกง สวมเสื้อเชิ้ตสีขาว ทับด้วยเสื้อคลุมไหมสีแดงมีแถบสีทอง สวมหมวกขนสัตว์ ชุดผู้หญิงเป็นกระโปรงยาวคลุมข้อเท้าสีแดง ประดับด้วยแผ่นเงิน หรือโลหะสวมกางเกงขายาวด้านใน ผูกผมไว้ด้านหลัง และคลุมศีรษะด้วยผ้า

💜อาหาร

  
 Manti 


                                                                            Chorek          

     อาหารพื้นเมืองที่น่าสนใจของชาวเติร์ก คือ Manti เป็นแป้งสอดใส่ด้วยเนื้อบดผสมหัวหอมและฟักทอง แล้วนำไปนึ่ง ส่วนขนมปังที่บริโภคกันอย่างแพร่หลาย คือ Chorek ซึ่งเป็น ขนมปังอบในโอ่ง (อบโดยแปะไว้ในโอ่ง ที่เป็นเตา) ส่วนเครื่องดื่มที่ขึ้นชื่อ คือ นมอูฐหมัก หรือ Chal โดยจะมีรสชาติ ออกเปรี้ยว ซึ่งเครื่องดื่มชนิดนี้นอกจากเป็นที่นิยมของชาวเติร์กแล้ว ยังเป็นที่ชื่นชอบของชาวคาซัคด้วยเช่นกัน

     นอกจากนั้น ชาวเติร์กนิยมดื่มชาเขียว และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอร์ เช่น วอดก้า เนื่องจากหาได้ทั่วไปและมีราคาถูก

💜ที่อยู่อาศัย

     ชาวเติร์กเมนใช้ชีวิตเรียบง่านในกระโจมที่ทำด้วยโครงไม้ คลุมด้วยต้นกก ต้นอ้อ และสักหลาด โดยมีพรมเพียงไม่กี่ผืนเป็นเฟอร์นิเจอร์ พรมนอกจากใช้งานเพื่อปูพื้นแล้ว ยังนำมาประดับตกแต่งแขวนไว้ตามผนัง โดยพรมนับเป็นหัตถกรรมที่มีชื่อเสียงของเติร์กเมนิสถาน ปัจจุบันการผลิตพรมโดยมาก มักผลิตเพื่อการค้า

💜ศิลปกรรม

     ลักษณะงานศิลปกรรมมีทั้งที่เป็นศิลปกรรมในศาสนาอิสลาม และศาสนาคริสต์ สถาปัตยกรรมอิสลามเน้นที่มีซุ่มประตูสูงใหญ่ ทรงสี่เหลี่ยม เจาะช่องทางเข้าเป็นซุ่มโค้งปลายแหลมขึ้น ประดับตกแต่ง ด้วยกระเบื้องสี หรือเขียนลวดลายด้วยสี สถาปัตยกรรมในสาสนาคริสต์เป็นอาคารสูงเพรียว มียอดแหลมสูง อาจมีหลายยอด ตกแต่งอย่างสวยงามในรายละเอียดต่างๆ

💜เทศกาล และประเพณี

     ส่วนมากเป็นเทศกาลทางศาสนาอิสลามเช่น เทศกาลเฉลิมฉลองฤดูใบไม้ผลิ เทศกาลรอมฎอน เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีประเพณีท้องถิ่นคือ ในเดือนเมษายน มีการฉลองม้า Akilteken มีขบวนพาเหรด และการแข่งม้า ในอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนสิงหาคม เป็นวัน Bakshi เป็นเทศกาลของเพลงพื้นเมือง และอาทิตย์สุดท้ายของเดือนธันวาคม เป็นเทศกาลเก็บเกี่ยว

💜การแต่งกาย

     ผู้ชายสวมชุดสูทที่เรียบง่ายหรือเสื้อแจ็คเก็ต และเนคไทก็เหมาะสมดีแล้ว แต่ในการประชุมพบปะกับหน่วยงานราชการ อาจเลือกชุดสูทที่เป็นทางการขึ้น สำหรับผู้หญิงสวมชุดสูท กระโปรงชุด หรือเสื้อกับกระโปรงก็เหมาะสม

แหล่งอารยธรรมในภูมิภาคเอเชีย



🏭อารยธรรม

        คำว่า อารยธรรม มีความหมายตามศัพท์ว่า เจริญงอกงาม ตรงกับภาษาอังกฤษว่า civilization มาจากคำภาษาละตินว่า civilis ซึ่งหมายถึง พลเมือง civitas แปลว่า เมืองหรือนคร ความหมายของอารยธรรมทั่วไปจึงมีความเกี่ยวข้องกับมนุษย์ซึ่งเป็นผู้สร้างสรรค์อารยธรรมและสังคมเมืองพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (1367)ให้ความหมาย อารยธรรมว่า ความสงบสุขของสังคมที่ตั้งอยู่บนรากฐานแห่งศีลธรรมและกฎหมาย; ความเจริญเนื่องด้วยองค์การของสังคม เช่น การเมือง กฎหมาย เศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรม ความเจริญด้วยขนบธรรมเนียมอันดี โดยทั่วไปอารยธรรมหลักของโลกมีลักษณะเด่น คือ การมีความเจริญเป็นรุปแบบเฉพาะของตนเองและสิ่งหนึ่งที่มีลักษณะร่วมกัน คือ อารยธรรมส่วนใหญ่เกิดขึ้นโดยได้รับแรงกระตุ้นจากอารยธรรมที่เก่าแก่กว่า ดังเช่น อารยธรรมอียิปต์โบราณ ซึ่งได้รับอิทธิพลจากอารยธรรมเมโสโปเตเมียในช่วงระยะหนึ่ง

🏭กำเนิดของอารยธรรมกับพัฒนาการความคิด

         ความเจริญและวิทยาการทั้งหลายที่เกิดขึ้นในโลกปัจจุบันล้วนมีรากฐานมาจากอารยธรรมในสมัยโบราณแทบทั้งสิ้น ทั้งนี้ได้มีการผสมผสานกันและเชื่อมโยงกันระหว่างอารยธรรมเก่าและใหม่และมีการสืบทอดกันต่อๆ มา แหล่งอารยธรรมเก่าแก่ของโลกสมัยโบราณเกิดขึ้นที่บริเวณราบลุ่มแม่น้ำที่ สำคัญ และอารยธรรมจีนโบราณ ต่อจากนั้นเป็นอารยธรรมที่เกิดขึ้นบริเวณริมฝั่งทะเล คือ โดยเริ่มจากอารยธรรมเมโสโปเตเมีย อารยธรรมอียิปต์โบราณ อารยธรรมอินเดียโบราณ อารยธรรมกรีกโบราณ และมาสิ้นสุดสมัยนี้ที่อารยธรรมโรมันโบราณ ของความเจริญให้แก่ดินแดนทั้งในโลกตะวันตกและตะวันออกในปัจจุบัน อารยธรรมเหล่านี้ถือว่าเป็นแหล่งเชื่อมสัมพันธ์และติดต่อกันและเป็นรากฐาน

🏭ความเจริญของมนุษย์ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์

          บรรพบุรุษของมนุษย์ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ เมื่อราว 2 ล้านปีมาแล้ว ดำรงชีวิตอย่างเรียบง่าย ตามธรรมชาติ มีที่อยู่อาศัยไม่เป็นหลักแหล่ง อาศัยอยู่ตามถ้ำและเพิงผา มีการสร้างเพิงพักเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยตามแหล่งอาหาร ล่าสัตว์ จับปลา เก็บพืชป่านานาชนิดเป็นอาหารสืบมาหลายพันปี จนเมื่อโลกมีสภาพอากาศที่เหมาะสม ภูมิอากาศเริ่มมีความชุ่มชื้นและอบอุ่นมากขึ้น มนุษย์จึง เริ่มเรียนรู้การเพาะปลูกจากธรรมชาติ เก็บเมล็ดพืชที่หล่นลงบนพื้นดินมาปลูกพืช พืชชนิดแรกที่ปลูกคือ ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ป่า ขณะเดียวกันก็จับสัตว์ป่ามาเลี้ยงเพื่อเป็นอาหาร ใช้ขนสัตว์และหนังสัตว์เป็นเครื่องนุ่งห่ม รู้จักการใช้แรงงานสัตว์ในการเพาะปลูกและเป็นพาหนะ หลังจากนั้นจึงเริ่มพัฒนาจนมีการตั้งหลักแหล่งถาวร รูปแบบที่อยู่อาศัยเปลี่ยนจากเพิงพักชั่วคราวมาเป็นบ้านที่มั่นคงแข็งแรง มีการรวมตัวกันเป็นชุมชน สร้างขอบเขตของหมู่บ้านชัดเจนขึ้นซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของสังคมแบบหมู่บ้านเกษตรกรรมและได้พัฒนาขึ้นเป็นสังคมเมือง มีระบบการปกครองและสร้างสรรค์วัฒนธรรมที่พัฒนาเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์ในเวลาต่อมา

          หมู่บ้านแห่งแรกๆ ของโลกเริ่มในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำที่อุดมสมบูรณ์ในตะวันออกกลาง ปัจจุบันคือ ประเทศอิรัก ตุรกี ปาเลสไตน์ เมื่อราว 1 หมื่นปีก่อนคริสต์ศักราช สังคมแบบหมู่บ้านได้เริ่มพัฒนาเป็นสังคมเมืองที่มีความซับซ้อนมากขึ้น แหล่งโบราณคดีที่สำคัญ เช่น

          เมืองโบราณเจริโค ในบริเวณเวสต์แบงก์ ใกล้กับแม่น้ำจอร์แดน ประเทศอิสราเอล ชาวเมืองอาศัยอยู่ในบ้านหลังเล็กก่อด้วยอิฐทำจากดิน หลังคาทรงกลม มีพิธีกรรมการฝังศพ ชาวเมืองเจริโคค้าขายกับชุมชนอื่นๆและสร้างกำแพงเมืองขนาดใหญ่ด้วยอิฐและหิน

          เมืองโบราณชาตาลฮูยุค ในบริเวณที่ราบคอนยา (Konya Plain) ประเทศตุรกี เป็นเมืองขนาดใหญ่ จากหลักฐานทางโบราณคดีสันนิษฐานว่ามีพลเมืองราว 6,000 คนอาศัยอยู่ สร้างบ้านทรงสี่เหลี่ยมด้วยอิฐและดิน มีบันไดบนหลังคาและในบ้าน ไม่มีประตูเข้าทางด้านหน้า บ้านทุกหลังต่อเชื่อมถึงกัน บ้านแต่ละหลังมีห้องขนาดใหญ่ 1 ห้อง ทาสีและวาดภาพบนผนังบ้าน ภายในบ้านมีกองไฟและม้านั่งดินเหนียวคลุมด้วยกก มีพิธีกรรมการฝังศพผู้ตาย สร้างประติมากรรมดินเผาเป็นรูปคนลักษณะต่างๆ

          เมืองโบราณเมร์การ์ ในหุบเขาริมแม่น้ำสินธุ ปัจจุบันคือประเทศปากีสถาน เมื่อราว 7 พันปีก่อนคริสต์ศักราช เป็นหมู่บ้านเกษตรกรรม ปลูกข้าวบาร์เลย์ เลี้ยงแกะ แพะ วัว มีการทำภาชนะดินเผาแบบต่างๆและประติมากรรมดินเผาขนาดเล็ก สร้างบ้านด้วยอิฐและดินเผา พบยุ้งข้าวในบริเวณเมืองเมร์การ์ในหุบเขาแม่น้ำสินธุ อายุราว 6 พันปีก่อนคริสต์ศักราช

          นอกจากนี้ในบริเวณตอนเหนือของจีนพบหลักฐานหมู่บ้านเกษตรกรรม ปลูกข้าวฟ่าง เลี้ยงสุกรและสุนัข ทอผ้า ลักษณะบ้านมีหลังคา ผนังและเตาไฟ เช่น แหล่งโบราณคดีที่บ้านโพ เมืองซีอาน (Xian) และบริเวณอ่าวหางโจว (Hangzhou Bay) มณฑลเจ้อเจียง (Zhejiang) มีการทำภาชนะดินเผาเนื้อแกร่งสวยงาม รมดำและเขียนสีให้เป็นลวดลายต่างๆ มีการปลูกข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์และข้าวเจ้า เลี้ยงสัตว์ เช่น แพะ แกะ สร้างบ้านด้วยดินเผา

          การตั้งถิ่นฐานเป็นหลักแหล่ง ทำการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ เป็นผลทำให้จำนวนประชากรในชุมชนเพิ่มมากขึ้น มีการค้าขายระหว่างกันทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนและสร้างสรรค์วัฒนธรรมและความเจริญทางเทคโนโลยีเกิดเป็นอารยธรรมโลกยุคโบราณขึ้น

          อายธรรมของโลกยุคโบราณเกิดขึ้นในบริเวณแม่น้ำที่อุดมสมบูรณ์ ประกอบด้วย เมโสโปเตเมีย ซึ่งเป็นดินแดนระหว่างแม่น้ำไทรกริสกับแม่น้ำยูเฟรทิส ซึ่งปัจจุบันคือ ประเทศอิรัก อารยธรรมอียิปต์ในบริเวณลุ่มแม่น้ำไนล์ ประเทศอียิปต์ อารยธรรมอินเดีย ในบริเวณลุ่มแม่น้ำสินธุ ซึ่งปัจจุบันอยู่ภายใต้เขตการปกครองของประเทศปากีสถานและทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย อารยธรรมจีนในบริเวณลุ่มแม่น้ำหวงเหอและแม่น้ำ แยงซี อารยธรรมกรีกในบริเวณเกาะครีตของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน อารยธรรมโรมันในบริเวณคาบสมุทรอิตาลี

          อารยธรรมทั้งหมดดังกล่างข้างต้นมีวัฒนธรรมของการสร้างที่อยู่อาศัย การก่อสร้างศาสนสถาน การประดิษฐ์ลายลักษณ์อักษร การทำภาชนะดินเผา การประดิษฐ์อาวุธ เครื่องมือเครื่องใช้จากโลหะหลากหลายชนิด การเลี้ยงสัตว์ การเพาะปลูก และมีรูปแบบของสังคมที่มีโครงสร้างชัดเจนขึ้น พัฒนาเป็นระบบการเมืองการปกครอง ซึ่งได้เป็นต้นกำเนิดของอารยธรรมตะวันตกและอารยธรรมตะวันออกสืบต่อมา


แหล่งอารยธรรมไทย



ยุคก่อนประวัติศาสตร์

          นักโบราณคดีชาวฮอลันดา ดร. เอช. อาร์. แวน ฮิงเกอเรน ได้ขุดค้นพบเครื่องมือหินเทาะซึ่งทำขึ้นโดยมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ บริเวณใกล้สถานีบ้านเก่า จังหวัดกาญจนบุรี โดยมีข้อสันนิษฐานว่ามนุษย์เหล่านี้อาจเป็น มนุษย์ชวาและมนุษย์ปักกิ่ง ซึ่งอยู่อาศัยเมื่อประมาณ 5 แสนปีมาแล้ว อันเป็นหลักฐานในยุคหินเก่า



          ในประเทศไทยพบหลักฐานของมนุษย์ยุคหินกลางในหลายจังหวัด โดยที่อำเภอไทรโยค ได้ขุดค้นพบเครื่องมือหินและโครงกระดูก จึงทำให้สันนิษฐานว่าดินแดนซึ่งแม่น้ำกลองไหลผ่านได้มีมนุษย์อยู่อาศัยมานานกว่า 20,000 ปี ส่วนเครื่องปั้นดินเผาที่เก่าที่สุดในประเทศไทย อายุเกือบ 1,000 ปี ถูกค้นพบที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน จึงทำให้เกิดแนวคิดที่ว่าเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นถิ่นกำเนิดของการกสิกรรมครั้งแรกของโลกนอกจากนี้ยังค้นพบขวานหินขัดในหลายภาคของประเทศไทย ซึ่งเป็นหลักฐานของมนุษย์ยุคหินใหม่

          การขุดค้นโดยวิทยา อันทรโกศัย แห่งกรมศิลปากร ทำให้พบโครงกระดูกและเศษผ้าไหมติดกระดูกเครื่องปั้นดินเผาที่บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี ซึ่งคาดว่ามีอายุถึง 3,000 ปี ก่อนที่การค้นพบหลักฐานเพิ่มเติมที่ตำบลโคกพนมดี จังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งยืนยันว่ามีอายุ 5,000 ปี อาจเป็นจุดเริ่มต้นของวัฒนธรรมสูง และเผยแพร่ไปส่ประเทศจีนและส่วนอื่น ๆ ของทวีปเอเชีย นายดอน ที บายาด ยังได้ขุดค้นขวานทองแดงในบ้านโนนนกทา จังหวัดขอนแก่น ยืนยันถึงการใช้เครื่องสำริดในยุคหินใหม่ ซึ่งเก่าแก่กว่าหลักฐานที่ขุดค้นพบในจีนและอินเดียกว่า 500-1,000 ปี

ชนพื้นเมืองและการอพยพเข้ามาในประเทศไทย


          นักมานุษยวิทยาได้จัดประเภทมนุษย์สมัยโบราณรุ่นแรกในตระกูลออสโตเนเซียน ซึ่งเป็นพวกที่อพยพเข้ามาในประเทศไทยเมื่อหลายพันปีที่แล้ว รวมทั้งเป็นบรรพบุรุษของชนชาติในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ปัจจุบัน ต่อมา มนุษย์ในตระกูลมอญและเขมรจะอพยพเข้ามาจากจีนหรืออินเดียด้วย ก่อนที่พวกไทยจะอพยพเข้ามาแย่งชิงดินแดนจากพวกละว้า ซึ่งเป็นชนชาติล้าหลังชาวเขาที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยปัจจุบันจึงสันนิษฐานว่าสืบเชื้อสายมาจากพวกละว้า

รัฐโบราณในประเทศไทย
          จากหลักฐานด้านโบราณคดี ตำนาน นิทานพื้นบ้าน บันทึกราชการของจีน และบันทึกของพระภิกษุจีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในพุทธศตวรรษที่ 12 ทำให้ทราบว่ามีอารยธรรมมนุษย์ได้สถาปนาอำนาจในประเทศไทยเป็นเวลานานแล้ว โดยอาณาจักรโบราณในดินแดนประเทศไทยปัจจุบัน สามารถจำแนกได้ดังรายชื่อด้านล่าง

  • อาณาจักรทวารวดี
  • อาณาจักรละโว้
  • อาณาจักรฟูนัน
  • อาณาจักรขอม
  • อาณาจักรเจนละ
  • แคว้นศรีจนาศะปุระ(รัฐศรีจนาศะ)
  • อาณาจักรโคตรบูร
  • อาณาจักรหริภุญชัย
  • อาณาจักรโยนกเชียงแสน
  • รัฐพันพัน
  • แคว้นคันธุลี
  • อาณาจักรตามพรลิงก์
  • อาณาจักรลังกาสุกะ
  • อาณาจักรเชียะโท้

สมัยอาณาจักรสุโขทัย และยุครุ่งเรืองของอาณาจักรล้านนา


          นครรัฐของไทยค่อย ๆ เป็นอิสระจากจักรวรรดิขะแมร์ที่เสื่อมอำนาจลง กล่าวกันว่า พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ทรงสถาปนาราชอาณาจักรที่เข้มแข็งและมีเอกราชเมื่อ พ.ศ. 1781 อาณาจักรสุโขทัยมีการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราช แต่ในรูปแบบที่นักประวัติศาสตร์เรียกว่า ปิตุราชา หรือ พ่อปกครองลูก ที่ผู้ปกครองใกล้ชิดกับผู้ใต้ปกครอง ราษฎรสามารถสั่นกระดิ่งหน้าพระราชวังเพื่อร้องทุกข์แก่พระมหากษัตริย์ได้โดยตรง อาณาจักรสุโขทัยแผ่ขยายดินแดนออกไปอย่างกว้างขวางในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ผู้ประดิษฐ์อักษรไทย หากเป็นช่วงสั้น ๆ เสถียรภาพของอาณาจักรได้อ่อนแอลงภายหลังการสวรรคตของพระองค์ รัชสมัยพญาลิไทมีการเปลี่ยนรูปแบบการปกครองมาเป็นธรรมราชา จากการรับอิทธิพลของศาสนาพุทธนิกายเถรวาท แบบลังกาวงศ์ อาณาจักรสุโขทัยเสื่อมลงและตกเป็นเมืองขึ้นของรัฐไทยอีกรัฐหนึ่งที่อุบัติขึ้น คือ อาณาจักรอยุธยาในพื้นที่เจ้าพระยาตอนล่าง

          ในเวลาไล่เลี่ยกัน พญามังรายได้สถานปนาอาณาจักรล้านนาขึ้นในปี พ.ศ. 1802 โดยได้ขยายอำนาจมาจากลุ่มน้ำแม่กกและอิง สู่ลุ่มแม่น้ำปิง พญามังรายได้สร้างเมืองเชียงใหม่ และทรงมีสัมพันธ์อันดีกับพ่อขุนรามคำแหงแห่งสุโขทัย อาณาจักรเชียงใหม่หรือล้านนา มีอำนาจสืบต่อมาในแถบลุ่มแม่น้ำปิง อย่างไรก็ตาม เชียงใหม่มีความสัมพันธ์ที่ไม่ราบรื่นนักกับอาณาจักรอยุธยาหรือกรุงศรีอยุธยา ที่เรืองอำนาจในพุทธศตวรรษที่ 19–20 มีการทำสงครามผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะอย่างต่อเนื่อง

          สาเหตุการเลือกอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย
          นักวิชาการให้เหตุผลในการเลือกเอาอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทยไว้ 2 เหตุผล ได้แก่:

          วิชาประวัติศาสตร์มักจะยึดเอาการที่มนุษย์เริ่มมีภาษาเขียนเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ หลักฐานประเภทลายลักษณ์ถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ซึ่งเมื่อประกอบกับการประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช จึงเหมาะสมที่จะเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย
เป็นการสะดวกในด้านการนับเวลาและเหตุการณ์ที่ต่อเนื่องกัน ทั้งนี้ นักประวัติศาสตร์มีหลักฐานความสืบเนื่องกันตั้งแต่สมัยสุโขทัยมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์จนถึงปัจจุบัน
ทว่า เหตุผลทั้งสองประการก็ยังไม่เป็นที่ยอมรับกันอย่างเป็นเอกฉันท์นัก

สมัยอาณาจักรอยุธยา

          พระเจ้าอู่ทองทรงก่อตั้งอาณาจักรอยุธยาในปี พ.ศ. 1893 ซึ่งในช่วงแรกนั้นก็มิได้เป็นศูนย์กลางของชาวไทยในดินแดนคาบสมุทรอินโดจีนทั้งปวง แต่ด้วยความเข้มแข็งที่ทวีเพิ่มขึ้นประกอบกับวิธีการทางการสร้างความสัมพันธ์กับชาวไทยกลุ่มต่าง ๆ ในที่สุดอยุธยาก็สามารถรวบรวมกลุ่มชาวไทยต่าง ๆ ในดินแดนแถบนี้ให้เข้ามาอยู่ภายใต้อำนาจได้ นอกจากนี้ยังกลายมาเป็นรัฐมหาอำนาจทางการเมืองและเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างรวดเร็ว

          การเข้าแทรกแซงสุโขทัยอย่างต่อเนื่องทำให้อาณาจักรสุโขทัยตกเป็นประเทศราชของอาณาจักรอยุธยาในที่สุด สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงปฏิรูปการปกครองโดยการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง การยึดครองมะละกาของโปรตุเกสในปี พ.ศ. 2054 ทำให้อยุธยาเริ่มการติดต่อกับชาติตะวันตก ในสมัยอาณาจักรอยุธยามีการติดต่อกับต่างประเทศอยู่หลายชาติ โดยชาวโปรตุเกสได้เดินทางมายังกรุงศรีอยุธยาในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 หลังจากนั้น ชาติที่เข้ามาอาศัยอยู่ในกรุงศรีอยุธยาเป็นจำนวนมากและมีบทบาทสำคัญ ได้แก่ ชาวดัตช์ ชาวฝรั่งเศส ชาวจีน และชาวญี่ปุ่น

          ราวกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 เมื่อราชวงศ์ตองอูของพม่าเริ่มมีอำนาจมากขึ้น การสงครามอันยาวนานนับตั้งแต่ พ.ศ. 2091 ส่งผลให้อยุธยาตกเป็นประเทศราชของอาณาจักรตองอูในที่สุด ก่อนที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชจะทรงประกาศอิสรภาพในอีก 15 ปีต่อมา

          อาณาจักรอยุธยาเป็นอาณาจักรที่มีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาล จากทิศเหนือจรดอาณาจักรล้านนา ไปจรดคาบสมุทรมลายูทางทิศใต้ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของอยุธยารุ่งเรืองขึ้นอย่างมากในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช อย่างไรก็ตาม ความสงสัยในตัวของคอนสแตนติน ฟอลคอน ทำให้ถูกสังหารโดยพระเพทราชา อาณาจักรอยุธยาเริ่มเสื่อมอำนาจลงราวพุทธศตวรรษที่ 24 การทำสงครามกับพม่าหลังจากนั้นส่งผลทำให้อยุธยาถูกปล้นสะดมและเผาทำลาย เมื่อปี พ.ศ. 2310

สมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์

รัชสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น

          ในปี พ.ศ. 2310-2325 เริ่มต้นหลังจากที่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้ขับไล่ทหารพม่าออกจากแผ่นดินไทย ทำการรวมชาติ และได้ย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่กรุงธนบุรี โดยจัดตั้งการเมืองการปกครอง มีลักษณะการเมืองการปกครองยังคงดำรงไว้ซึ่งการเมืองการปกครองภายในสมัยอยุธยาอยู่ก่อน โดยมีพระมหากษัตริย์มีอำนาจเด็ดขาดในการเมืองการปกครอง อย่างไรก็ตาม ภายหลังสิ้นรัชสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้สถาปนาตนขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี และทรงย้ายเมืองหลวงมายังกรุงเทพมหานคร เริ่มยุคสมัยแห่งกรุงรัตนโกสินทร์

          ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1790 กองทัพพม่าถูกขับไล่ออกจากดินแดนรัตนโกสินทร์อย่างถาวร และทำให้แคว้นล้านนาปลอดจากอิทธิพลของพม่าเช่นกัน โดยล้านนาถูกปกครองโดยราชวงศ์ที่นิยมราชวงศ์จักรีนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา จนกระทั่งถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรสยามอย่างเป็นทางการ

          สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ไทยยังเผชิญกับการรุกรานจากประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ สงครามเก้าทัพ, สงครามท่าดินแดงกับพม่า ตลอดจนกบฏเจ้าอนุวงศ์กับลาว และอานามสยามยุทธกับญวน

          ในช่วงนี้ กรุงรัตนโกสินทร์ยังไม่ค่อยมีการติดต่อค้าขายกับชาติตะวันตกมากนัก ต่อมาเมื่อชาวตะวันตกเริ่มเข้ามาค้าขายอีก ได้ตระหนักว่าพวกพ่อค้าจีนได้รับสิทธิพิเศษเหนือคนไทยและพวกตน จึงได้เริ่มเรียกร้องสิทธิพิเศษต่าง ๆ มาโดยตลอด มีการเดินทางเยือนของทูตหลายคน อาทิ จอห์น ครอเฟิร์ต ตัวแทนจากบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ ซึ่งเข้ามาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย แต่ยังไม่บรรลุข้อตกลงใด ๆ สนธิสัญญาที่มีการลงนามในช่วงนี้ เช่น สนธิสัญญาเบอร์นี และสนธิสัญญาโรเบิร์ต แต่ก็เป็นเพียงข้อตกลงที่ไม่มีผลกระทบมากนัก และชาวตะวันตกไม่ค่อยได้รับสิทธิพิเศษเพิ่มมากขึ้นแต่อย่างใด

           อย่างไรก็ตาม ได้มีคณะทูตตะวันตกเข้ามาเสนอสนธิสัญญาข้อตกลงทางการค้าอยู่เรื่อย ๆ เพื่อขอสิทธิทางการค้าให้เท่ากับพ่อค้าจีน และอังกฤษต้องการเข้ามาค้าฝิ่นอันได้กำไรมหาศาล แต่ไม่ประสบความสำเร็จ ทั้งคณะของเจมส์ บรุคจากอังกฤษ และโจเซฟ บัลเลสเตียร์จากสหรัฐอเมริกา ทำให้ชาวตะวันตกขุ่นเคืองต่อราชสำนัก

การเผชิญหน้ากับมหาอำนาจตะวันตก

          ภายหลังจากที่พม่าตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษในปี พ.ศ. 2369 พระมหากษัตริย์ไทยในรัชสมัยถัดมาจึงทรงตระหนักถึงภัยคุกคามที่มาจากชาติมหาอำนาจในทวีปยุโรป และพยายามดำเนินนโยบายทอดไมตรีกับชาติเหล่านั้น อย่างไรก็ตาม สยามมีการเปลี่ยนแปลงดินแดนหลายครั้ง รวมทั้งตกอยู่ในสถานะรัฐกันชนระหว่างอังกฤษและฝรั่งเศส ถึงกระนั้น สยามก็ไม่ตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตก

การปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง

          เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ได้มีกลุ่มบุคคลที่เรียกว่า คณะราษฎร ได้ปฏิวัติเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครอง จากสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ เป็นเหตุการณ์ที่สร้างความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองการปกครองแก่ประเทศไทยอย่างมาก และทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์ที่เคยเป็นผู้ปกครองสูงสุดของประเทศมาช้านานต้องสูญเสียอำนาจส่วนใหญ่ไปในที่สุด โดยมีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2475 ขึ้นเป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยอย่างถาวรเป็นฉบับแรก

          ภายหลังจากเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงดังกล่าว การต่อสู้ทางการเมืองยังคงมีการต่อสู้กันระหว่างผู้นำในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช กับระบอบใหม่ รวมทั้งความขัดแย้งในผู้นำระบอบใหม่ด้วยกันเอง โดยการต่อสู้ทางการเมืองและทางความคิดอุดมการณ์นี้ได้ดำเนินต่อเนื่องยาวนานเป็นเวลากว่า 25 ปีภายหลังจากการปฏิวัติ และนำไปสู่ยุคตกต่ำของคณะราษฎรในกาลต่อมา ทำให้การเปลี่ยนแปลงการปกครองดังกล่าวถูกมองว่าเป็นพฤติการณ์ "ชิงสุกก่อนห่าม" เนื่องจากชนชั้นนำมองว่าชาวไทยยังไม่พร้อมสำหรับการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อีกทั้งการปกครองในระยะแรกหลังการปฏิวัติยังคงอยู่ในระบอบเผด็จการทหาร

สงครามโลกครั้งที่สอง

          ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ได้มีการเดินขบวนเรียกร้องให้รัฐบาลเอาดินแดนคืนของนิสิตนักศึกษา จอมพลแปลก พิบูลสงคราม จึงส่งทหารข้ามแม่น้ำโขงและรุกรานอินโดจีนฝรั่งเศส จนได้ดินแดนคืนมา 4 จังหวัด ภายหลังการเข้าไกล่เกลี่ยของญี่ปุ่น โดยมีการรบที่เป็นที่รู้จักกันมาก ได้แก่ การรบที่เกาะช้าง

          ต่อมา หลังจากการโจมตีกองทัพเรือสหรัฐอเมริกาที่เพิร์ลฮาร์เบอร์ กองทัพญี่ปุ่นก็ได้รุกรานประเทศไทย โดยต้องการเคลื่อนทัพผ่านดินแดน รัฐบาลจอมพลแปลก พิบูลสงครามได้ดำเนินนโยบายเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่น รวมทั้งลงนามในสนธิสัญญาพันธมิตรทางการทหารกับญี่ปุ่น และประกาศสงครามต่อสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร ซึ่งนโยบายดังกล่าวของรัฐบาลถูกต่อต้านจากทั้งในและนอกประเทศ เนื่องจากไทยประสบกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ

          หลังสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2488 แม้ว่าประเทศไทยจะตกอยู่ในสถานะประเทศผู้แพ้สงคราม แต่เนื่องจากการเคลื่อนไหวของขบวนการเสรีไทย ทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรยอมรับ และไม่ถูกยึดครอง เพียงแต่ต้องคืนดินแดนระหว่างสงครามให้กับอังกฤษและฝรั่งเศส และจ่ายค่าเสียหายทดแทนเท่านั้น

สงครามเย็น

          รัฐบาลไทยได้ดำเนินนโยบายเป็นพันธมิตรของสหรัฐอเมริกาในระหว่างสงครามเย็น ดังจะเห็นได้จากนโยบายต่อต้านการขยายตัวของคอมมิวนิสต์ในคาบสมุทรอินโดจีน และยังส่งทหารไปร่วมรบกับฝ่ายพันธมิตร ได้แก่ สงครามเกาหลี และสงครามเวียดนาม

          ประเทศไทยประสบกับปัญหากองโจรคอมมิวนิสต์ในประเทศระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1960 และ 1970 อย่างไรก็ตาม ปัญหาดังกล่าวก็ไม่ค่อยจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศสักเท่าไหร่ และกองโจรก็หมดไปในที่สุด

การพัฒนาประชาธิปไตย

          หลังจากปัจจัยแวดล้อมด้านต่าง ๆ ได้รับการพัฒนาขึ้น ประชาชนมีความพร้อมต่อการใช้อำนาจอธิปไตยเพิ่มมากขึ้น การเรียกร้องอำนาจอธิปไตยคืนจากฝ่ายทหารก็เกิดขึ้นเป็นระยะ กระทั่งในที่สุด ภายหลังจากเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ฝ่ายทหารก็ไม่สามารถถือครองอำนาจอธิปไตยได้อย่างถาวรอีกต่อไป อำนาจอธิปไตยจึงได้เปลี่ยนไปอยู่ในมือของกลุ่มนักการเมือง ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มบุคคลสามกลุ่มหลัก คือ กลุ่มทหารที่เปลี่ยนบทบาทมาเป็นนักการเมือง กลุ่มนายทุนและผู้มีอิทธิพล และกลุ่มนักวาทศิลป์ แต่ต่อมาภายหลังจากการสิ้นสุดลงของยุคสงครามเย็น โลกได้เปลี่ยนมาสู่ยุคการแข่งขันกันทางการค้าซึ่งมีความรุนแรงเป็นอย่างมาก กลุ่มการเมืองที่มาจากกลุ่มทุนนิยมสมัยใหม่ได้เข้ามามีบทบาทแทน


          ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคีในอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก (State Party of the World Heritage Convention) เมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๓๐  และเคยได้รับการเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการมรดกโลก (World Heritage Committee) มาแล้ว ๓ ครั้ง คือ ครั้งแรกระหว่างปี พุทธศักราช ๒๕๓๒ – ๒๕๓๘  ครั้งที่สอง ระหว่างปี พุทธศักราช ๒๕๔๐ – ๒๕๔๖  และครั้งล่าสุดระหว่างปี พุทธศักราช ๒๕๕๒ – ๒๕๕๖

          ปัจจุบันประเทศไทยมีแหล่งมรดกโลกที่ได้รับการขึ้นทะเบียนแล้ว ๕ แห่ง ดังนี้

🌳แหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม ๓ แห่ง
          1. อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ศรีสัชนาลัย และกำแพงเพชร ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกภายใต้ชื่อ เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร จากการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ ๑๕   เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๓๔  ที่เมืองคาร์เทจ ประเทศตูนิเซีย

          🌱ที่ตั้งและลักษณะทางกายภาพ




              อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ตั้งอยู่ที่ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย ห่างจากตัวจังหวัดไปทางทิศตะวันออก ๑๒ กิโลเมตร ตั้งอยู่บนพื้นที่ลานตะพัก มีลักษณะผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีกำแพงเมืองสลับกับคูน้ำล้อมรอบ ๓ ชั้น มีแนวเทือกเขาประทักษ์อยู่ทางด้านทิศตะวันตก ส่วนทางด้านทิศตะวันออกมีคลองแม่ลำพันไหลผ่าน ซึ่งจะไหลไปลงสู่แม่น้ำยมที่อยู่ห่างออกไปประมาณ ๑๒ กิโลเมตร


              อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ตั้งอยู่ที่อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย มีระยะห่างจากอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยไปทางทิศเหนือประมาณ   ๖๐   กิโลเมตร ตั้งอยู่บนที่ราบเชิงเขาริมแม่น้ำยมทางฝั่งตะวันตก ลักษณะผังเมืองเป็นรูปหลายเหลี่ยมโค้งตามลำน้ำ มีกำแพงเมืองและคูเมืองล้อมรอบ  

   
              อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ตั้งอยู่ที่อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร มีระยะห่างจากอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยไปทางทิศใต้ประมาณ ๗๐ กิโลเมตร อยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิง ลักษณะผังเมืองเป็นรูปคล้ายสี่เหลี่ยมคางหมูวางแนวยาวขนานกับลำน้ำปิง มีกำแพงเมืองและคูเมืองล้อมรอบ

   
          🌱คุณค่าแห่งความเป็นมรดกโลก

              ปัจจุบันสุโขทัย ศรีสัชนาลัย และกำแพงเพชร เป็นเมืองโบราณที่ปรากฏร่องรอยหลักฐานของอารยธรรมอันรุ่งเรืองในอดีต สะท้อนให้เห็นภาพของอาณาจักรสุโขทัยในความเป็น “รุ่งอรุณแห่งความสุข” เป็นต้นกำเนิดของประวัติศาสตร์ชาติไทยที่ได้พัฒนาเป็นรัฐสำคัญของภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๘ – ๒๐ เป็นเวลานานประมาณ ๒๐๐ ปี ด้วยความโดดเด่นนี้เองส่งผลให้เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร ได้รับการอนุรักษ์และพัฒนาให้เป็นอุทยานประวัติศาสตร์และได้รับการขึ้นทะเบียนไว้ในบัญชีรายชื่อแหล่งมรดกโลก เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๓๔ ด้วยคุณค่าความโดด

          🌱มรดกโลก สุโขทัย ศรีสัชนาลัย และกำแพงเพชร ในปัจจุบัน

              อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ศรีสัชนาลัย และกำแพงเพชร ในปัจจุบันได้รับการอนุรักษ์และพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศ มีลักษณะการใช้พื้นที่ทั้งส่วนที่เป็นโบราณสถานที่ได้รับการดูแลโดยกรมศิลปากร และพื้นที่ข้างเคียงซึ่งที่อยู่อาศัยของชุมชนท้องถิ่น โดยกำหนดและจัดสรรการใช้ประโยชน์พื้นที่อย่างชัดเจน รวมทั้งควบคุมสิ่งก่อสร้างและการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ โดยคณะกรรมการพิจารณาการอนุญาตให้ปลูกสร้างอาคารและใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตโบราณสถาน ร่วมกันพิจารณาเพื่อนำเสนอความเห็นต่ออธิบดีกรมศิลปากรผู้อำนาจในการอนุญาต ปัจจุบันชุมชนที่ตั้งอยู่ในพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์เริ่มขยายตัวพร้อมๆ กับการพัฒนาที่ไม่สอดคล้องกับแนวทางของเมืองประวัติศาสตร์และเป็นเมืองมรดกโลก เช่น การสร้างอาคาร สิ่งก่อสร้างต่างๆ ขึ้นภายในเขตเมืองเก่า ตลอดจนบดบังทัศนียภาพ หรือสภาพภูมิทัศน์ ทำให้ขาดความสง่างามและคุณค่าของโบราณสถาน รวมทั้งการขาดหน่วยงานที่ต้องดำเนินการ ด้านอนุรักษ์การอย่างพอเพียง ดังนั้นจึงต้องสร้างความเข้าใจแก่ประชาชน ให้ตระหนักในคุณค่าของมรดกทางวัฒนธรรม และช่วยกันดูแลรักษาให้เป็นมรดกที่ทรงคุณค่าตกทอดไปสู่อนุชนรุ่นหลังสืบไป

          2. อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดก จากการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ณ กรุงคาร์เธจ ประเทศตูซิเนีย เมื่อวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๓๔

              อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ตั้งอยู่ที่ เกาะเมือง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรี-อยุธยา ซึ่งตั้งอยู่ในเขตที่ราบลุ่มภาคกลางตอนล่างของประเทศไทย อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครไปทางทิศเหนือ ๗๖ กิโลเมตร

              ตัวเกาะเมืองซึ่งเป็นศูนย์กลางของกรุงศรีอยุธยาในอดีต ถูกล้อมรอบด้วยแม่น้ำสำคัญ  ๓ สายคือ  แม่น้ำลพบุรีด้านทิศเหนือ   แม่น้ำป่าสักด้านทิศตะวันออก   และแม่น้ำเจ้าพระยาด้านทิศตะวันตกและทิศใต้   ทำให้มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะสมต่อการเกษตรกรรมอันเป็นพื้นฐานของการตั้งถิ่นฐาน เป็นชุมทางคมนาคมที่เอื้อต่อการค้าทั้งภายในและภายนอก ทำให้กรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและการค้าที่มีความสำคัญของภูมิภาคเอเชียและของโลก ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๒๐ - ๒๓



พระราชวังโบราณ



วัดพระศรีสรรเพชญ์


วัดมหาธาตุ



วัดราชบูรณะ



วัดพระราม



วิหารพระมงคลบพิตร

  
พระราชวังจันทรเกษม



วัดสุวรรณดาราราม



วัดพนัญเชิง


วัดใหญ่ชัยมงคล



วัดไชยวัฒนาราม


วัดวรเชษฐาราม



วัดภูเขาทอง


วัดหน้าพระเมรุ


เพนียดคล้องช้าง



วัดพุทไธศวรรย์


ปราสาทนครหลวง



          🌱คุณค่าแห่งความเป็นมรดกโลก

              นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาในปัจจุบัน ยังคงปรากฏร่องรอยแห่งความเจริญรุ่งเรืองของศิลป-วัฒนธรรมอันยิ่งใหญ่   งดงาม   และทรงคุณค่า  สะท้อนให้รำลึกถึงภาพความโอ่อ่าสง่างามของปราสาทราชวังวัดวาอาราม ป้อมปราการ บ้านเรือนที่อยู่อาศัย ตลอดจนวิถีชีวิตของชาวกรุงศรีอยุธยาในอดีต นครประวัติศาสตร์แห่งนี้เป็นหลักฐานแสดงถึงความชาญฉลาดของชุมชนหนึ่ง นับตั้งแต่การเลือกที่ตั้งชุมชนในบริเวณที่มีแม่น้ำสามสายมาบรรจบกัน เพื่อให้เป็นแหล่งอาหาร และแหล่งเกษตรกรรมอันอุดมสมบรูณ์         พร้อมไปกับเป็นปราการธรรมชาติในการป้องกันข้าศึกศัตรูจากภายนอก นอกจากนั้นผลงานด้านสถาปัตยกรรม จิตรกรรม ประติมากรรม ประณีตศิลป์ และวรรณกรรม ยังเป็นประจักษ์พยานแสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองสูงสุดของอารยธรรมแห่งชุมชนหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงเวลาระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๔ อีกด้วย

              หลักฐานแห่งอารยธรรมของชาวกรุงศรีอยุธยาส่งผลให้นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ได้รับการเชิดชูคุณค่าไว้ในบัญชีรายชื่อแหล่งมรดกโลก ในประพุทธศักราช ๒๕๓๔ ด้วยหลักเกณฑ์มาตรฐานข้อที่ ๓ ดังนี้

              เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว

          🌱มรดกโลกอยุธยา ในปัจจุบัน

              ปัจจุบันนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยากำลังมีกาารขยายตัวทางกายภาพอย่างมาก โดยมีการขยายเมือง เพื่อสร้างอาคารที่อยู่อาศัยต่าง ๆ การสร้างอาคารที่บดบังทัศนียภาพที่สวยงาม เป็นการทำลายคุณค่าของโบราณสถาน ตลอดจนการพัฒนาของถนนหนทางภายในเขตเมือง เพื่อรองรับการคมนาคมที่นักท่องเที่ยวต่างมาเยี่ยมชมอุทยานประวัติ-ศาสตร์ ทำให้เขตพัฒนาเป็นไปอย่างไร้ทิศทางของการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม เช่น การสร้างเสาไฟรูปนางหงส์ ที่กระจายอยู่โดยทั่วของใจกลางเมืองพระนครศรีอยุธยา ปัญหาของขยะมูลฝอย การสร้างบ้านพัก ที่อยู่อาศัย บ้านจัดสรร อยู่โดยรอบโบราณสถาน และการถมคูคลองต่าง ๆ เป็นต้น

              ดังนั้นหากอุทยานประวัติศาสตร์นครศรีอยุธยาไม่ได้รับการเอาในใส่ดูแลจากหน่วยงานต่าง ๆ โดยเฉพาะท้องถิ่นที่ต้องมีความเข้าใจในการพัฒนาเมืองที่เป็นเมืองเก่า ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของชาติ จะต้องดำเนินการอย่างระมัดระวัง เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหาย และทำลายคุณค่าของความเป็นเมืองเก่าที่ได้รับการยอมรับเป็นเมืองมรดกโลก ก็อาจจะทำให้เมืองเก่าแห่งนี้ถูกลดถอยความสำคัญในอนาคตได้

          3.แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อปี พุทธศักราช ๒๕๓๕ จากการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ ๑๖ ที่เมืองแซนตาเฟ ประเทศสหรัฐอเมริกา

              แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง เป็นแหล่งโบราณคดีสำคัญแห่งหนึ่ง อยู่ที่อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ที่ทำให้รับรู้ถึงการดำรงชีวิตในสมัยก่อนประวัตศาสตร์ ย้อนหลังไปกว่า ๔,๓๐๐ ปี ร่องรอยของมนุษย์ในประเทศไทยสมัยดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมที่มีพัฒนาการแล้วในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะด้านความรู้ความสามารถหรือภูมิปัญญา อันเป็นเครื่องมือสำหรับช่วยให้ผู้คนเหล่านั้นสามารถดำรงชีวิต และสร้างสังคมวัฒนธรรมของมนุษย์ได้สืบเนื่องต่อกันมาเป็นระยะเวลายาวนาน วัฒนธรรมบ้านเชียง ได้ครอบคลุมถึงแหล่งโบราณคดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนืออีกกว่าร้อยแห่งเป็นบริเวณพื้นที่ที่มีมนุษย์อยู่อาศัยหนาแน่นมาตั้งแต่หลายพันปีแล้ว ด้วยเหตุนี้เององค์การยูเนสโก ของสหประชาชาติจึงได้ยอมรับขึ้นบัญชีแหล่งวัฒนธรรมบ้านเชียงไว้เป็นแห่งหนึ่งในบรรดามรดกโลก


              ผลการวิเคราะห์หลักฐานทางโบราณคดีจากบ้านเชียงที่มีอยู่ แสดงให้เห็นว่าวัฒนธรรมบ้านเชียงเริ่มต้นขึ้นเมื่อราว ๕,๖๐๐ ปีมาแล้ว และมีความต่อเนื่องมาจนถึงราว ๑,๘๐๐ ปีมาแล้ว ในช่วงระยะเวลายาวนานนับพันๆ ปีของวัฒนธรรมบ้านเชียงได้มีการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ตลอดเวลา ซึ่งสะท้อนออกมาให้เห็นทั้งในด้านพฤติกรรมและวัตถุเนื่องในวัฒนธรรมซึ่งได้แก่ ประเพณีการฝังศพ และภาชนะดินเผา

          🌱คุณค่าแห่งความเป็นมรดกโลก


              แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง เป็นปรากฎการณ์สำคัญของอารยธรรมสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่มีความโดดเด่นที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นตัวแทนวิวัฒนาการด้านวัฒนธรรม สังคม และเทคโนโลยี ที่มีความเจริญรุ่งเรืองสืบทอดยาวนานกว่า ๕,๐๐๐ ปี ในช่วงเวลาระหว่าง ๓,๖๐๐ ปีก่อนคริสตศักราชถึงคริสตศักราช ๒๐๐ แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง ได้รับการขึ้นทะเบียนไว้ในทะเบียนบัญชีรายชื่อแหล่งมรดกโลกแห่งอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก เมื่อปี พุทธศักราช ๒๕๓๕ ด้วยคุณค่าและความโดดเด่นตามหลักเกณฑ์มาตรฐานข้อที่ ๓ ดังนี้

    “เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว”

          🌱มรดกโลก บ้านเชียง ในปัจจุบัน




               ด้วยคุณค่าและความสำคัญของแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงหลายสิ่งหลายอย่างแก่ชุมชนในปัจจุบัน บ้านเชียงได้กลายเป็นหมู่บ้านมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในฐานะแหล่งมรดกโลก ด้านวิชาการ ข้อมูล และโบราณวัตถุจำนวนมหาศาลได้รับการวิเคราะห์แปลความ  โดยนักโบราณคดีที่ทำการศึกษาตามหลักวิชาการ     แต่อย่างไรก็ตามแหล่งโบราณคดีบ้านเชียงได้ถูกลักลอบขุดค้น และซื้อขายในตลาดมืดกันอย่างมากมาย โดยทางราชการก็ได้ใช้มาตรการทางกฏหมาย เช่น พระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ (ฉบับที่ ๒) พุทธ-ศักราช ๒๕๓๕ รวมถึงประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ ๑๘๙ ที่ห้ามการขุดค้นในพื้นที่บ้านเชียงและบริเวณโดยรอบ ปัจจุบันชุมชนบ้านเชียง ได้มีขยายตัวและพัฒนาอย่างรวดเร็ว เช่น การสร้างบ้านเรือน ที่อยู่อาศัย จึงต้องเร่งกำหนดขอบพื้นที่ที่ชัดเจนและครอบคลุม เพื่อรักษาแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง มิให้ถูกทำลายหลักฐานทางด้านประวัติศาสตร์โบราณคดี ดังนั้นการสร้างความรู้ความเข้าใจ และความร่วมมือร่วมใจกันของทุกองค์กร ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน เพื่อช่วยกันอนุรักษ์แหล่งโบราณคดีที่มีความสำคัญแห่งนี้ไว้ให้เป็นมรดกตกทอดต่ออนุชนรุ่นหลังต่อไป

🌳แหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ ๒ แห่ง



          1.เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรและห้วยขาแข้ง ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ในปีพุทธศักราช ๒๕๓๔ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้งนับเป็นสถานที่ธรรมชาติแห่งแรกของประเทศไทย และภูมิภาคเอเชียออกเฉียงใต้ที่ได้เป็นมรดกโลก


              เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรและห้วยขาแข้ง ได้รับการยกย่องให้เป็นผืนป่าอันยิ่งใหญ่และมีชื่อเสียงที่สุดในประเทศไทย ประกอบด้วยผืนป่าอนุรักษ์ ๓ แห่ง ได้แก่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันตก เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าด้านตะวันออก และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ครอบคลุมพื้นที่กว้างใหญ่ถึง ๖,๒๒๒ ตารางกิโลเมตร หรือ ๓,๘๘๘,๗๕๐ ไร่ อยู่ภายในเขต จังหวัดอุทัยธานี จังหวัดตาก จังหวัดกาญจนบุรี นับเป็นป่าอนุรักษ์ที่มีพื้นที่กว้างใหญ่ที่สุดของประเทศ


 เสือดาว อยู่ในสถานะใกล้สูญพันธุ์เช่นเดียวกับเสือโคร่งจึงถูกจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง



สมเสร็จ สัตว์ป่าหายากและมีแนวโน้ม ใกล้สูญพันธุ์จนถูกบรรจุไว้ในบัญชีรายชื่อ ๑ ใน ๑๕ ชนิดของสัตว์ป่าสงวนเมืองไทย


นกเงือกสีน้ำตาลป่าตะวันตก    


นกแก๊ก นกเงือกชนิดเล็กที่สุดในเมืองไทย
                 
นกเงือกกรามช้างปากเรียบ เป็นนกเงือกหายากที่สุดในเมืองไทย พบเฉพาะทางภาคตะวันตก จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองประเภทที่ ๑

         🌱คุณค่าแห่งความเป็นมรดกโลก

             เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรและห้วยขาแข้ง นับเป็นผืนป่าอนุรักษ์ขนาดใหญ่ของประเทศ ที่เป็นตัวแทนแสดงลักษณะทางชีววิทยาที่สำคัญของผืนป่าในแผ่นดินใหญ่ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นแหล่งรวมของความหลากหลายทางชีวภูมิศาสตร์ ถึง ๔ เขต คือ ไซโน-หิมาลายัน (Sino-Himalayan) อินโด-เบอร์มิส (Indo-burmese) อินโด-ไชนิส (Indo-chinese) และซุนเดอิก (Sundaic) รวมทั้งเป็นที่อยู่อาศัยของพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ที่อุดมสมบูรณ์ทั้งเขต ที่ราบฝั่งตะวันออกในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร เป็นบริเวณที่โดดเด่นที่สุด เป็นตัวแทนระบบ นิเวศป่าเขตร้อนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีความอุดมสมบูรณ์และปลอดภัยที่สุดแห่งหนึ่งของโลก

          2.อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ปางสีดา ทับลาน ตาพระยา และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงรัก ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกภายใต้ชื่อ "ผืนป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่"จากการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ ๒๙ เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๔๘ ที่เมืองเดอร์บัน ประเทศแอฟริกาใต้



         🌱สถานที่ที่ได้ลงทะเบียนเป็นมรดกโลก

     อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อุทยานแห่งชาติทับลาน อุทยานแห่งชาติปางสีดา อุทยานแห่งชาติตาพระยา และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่


         🌱คุณค่าแห่งความเป็นมรดกโลก

              แหล่งมรดกโลกเขาใหญ่ ดงพญาเย็นนั้น เป็นผืนป่าที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง โดยมีสภาพป่าแบบต่างๆ ตั้งแต่ ป่าดงดิบ ป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ และทุ่งหญ้า

              พื้นที่ตรงผืนป่าอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่นั้น เคยได้รับการเสนอชื่อขึ้นไปครั้งหนึ่งแล้วเมื่อปี พุทธศักราช ๒๕๓๓แล้ว ซึ่งในขณะนั้นได้เสนอแหล่งธรรมชาติอีก ๓ แหล่งสู่ที่ประชุมองค์การยูเนสโกเพื่อพิจารณา คือ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เขตรักษาพันธุ์สัตวป่าทุ่งใหญ่ -ห้วยขาแข้ง และอุทยานแห่งชาติตะรุเตา และปรากฏว่าเขตรักษาพันธุ์สัตวป่าทุ่งใหญ่ - ห้วยขาแข้ง ได้รับลงทะเบียนเป็นมรดกโลกเพียงแห่งเดียว ด้วยเหตุที่ว่าอุทยานแห่งชาติที่เหลือทั้ง ๒ แห่งนั้นเล็กเกินไป และยังมีนโยบายที่ไม่แน่นอนและไม่เพียงพอ


             อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เป็นแหล่งที่มีชนิดพันธุ์ของพืชและสัตว์ที่ไม่สามารถพบได้ที่อื่นเป็นจำนวนมาก โดยในจำนวนพืชราว ๑๕,๐๐๐ ชนิดที่พบในประเทศไทย สามารถพบในแหล่งมรดกโลกนี้ถึง ๒,๕๐๐ ชนิด มีพืชเฉพาะผืนป่านี้ถึง ๑๖ ชนิด มีสัตว์ป่ากว่า ๘๐๐ ชนิด สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ๑๑๒ ชนิด สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำกว่า ๒๐๙ ชนิด นกกว่า ๓๙๒ ชนิด และเงือก ๔ ชนิด ใน ๖ ชนิดที่พบในประเทศไทย