เมโสโปเตเมีย เป็นคำภาษากรีก แปลว่า ที่ระหว่างแม่น้ำ
ดินแดนที่ชาวกรีกเรียกว่า
เมโสโปเตเมียนี้ตั้งอยู่บริเวณลุ่มน้ำไทกรีสและยูเฟรตีสเป็นส่วนหนึ่งของ”ดินแดนรูปพระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์”
ซึ่งเป็นดินแดนรูปครึ่งวงกลมผืนใหญ่ ที่ทอดโค้งขึ้นไปจากฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและอ่าวเปอร์เซีย มีนครหลวงคือกรุงแบกแดด
เมโสโปเตเมีย
เป็นดินแดนที่อากาศร้อนและกันดารฝน
น้ำที่ได้รับส่วนใหญ่เป็นน้ำจากแม่น้ำที่มาจากหิมะละลาย
ในฤดูร้อนบนเทือกเขาในอาร์เมเนีย น้ำจะพัดพา เอาโคลนตม ตะกอนมาทับถมชายฝั่งทั้งสอง
ทำให้พื้นดินอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก
การเอ่อล้นของน้ำในแม่น้ำอันเกิดจากหิมะละลายไม่มีกำหนดเวลาที่แน่นอนและบางครั้งก็สร้างความเสียหายแก่บ้านเมือง
ไร่นา ทรัพย์สินและชีวิตผู้คน
การกสิกรรมที่จะได้ผลดีในสภาพแวดล้อมเช่นนี้ต้องอาศัยระบบการชลประทานที่มีประสิทธิภาพ
📍ปัจจัยที่เอื้ออำนวยที่ทำให้เกิดอารยธรรมเมโสโปเตเมีย
1. ความคิดสร้างสรรค์ในการรักษา
ปรับปรุงและสืบทอดในอารยธรรมของกลุ่มชน 6 กลุ่มคือ
1.1 สุเมเรียน (Sumerians)
1.2 อัคคาเดียน (Akkadians)
1.3 อะมอไรท์ หรือ บาบิโลน(Amorites)
1.4 คัสไซท์ (Kassites)
1.5 อัสซีเรียน (Assyrians)
1.6 แคลเดียน (Chaldeans)
2. แม่น้ำไทกรีสและยูเฟรตีส
ทำให้เมโสโปเตเมียชุ่มชื้นเกิดการรวมตัวของกลุ่มชนและกำเนิดอารยธรรมเฉพาะขึ้น
3.
พรมแดนธรรมชาติซึ่งมีส่วนช่วยเป็นกำแพงป้องกันศัตรูภายนอก
แม้ไม่ดีเท่าแถบลุ่มน้ำไนล์ก็ตาม
แต่ก็เอื้ออำนวยให้กลุ่มชนซึ่งผลัดกันขึ้นมีบทบาทในเมโสโปเตเมียสามารถใช้ประโยชน์ของพรมแดนธรรมชาตินี้กำเนิดอารยธรรมเมโสโปเตเมียขึ้น
กล่าวคือทิศเหนือจรดเทือกเขาอเมเนียทิศใต้จรดอ่าวเปอร์เซีย ทิศตะวันออกจรดแนวเทือกเขายาว
ทิศตะวันตกจรดทะเลทรายอารเบียน
📍ชนกลุ่มต่างๆที่สร้างอารยธรรมในดินแดนเมโสโปเตเมีย
1. สุเมเรียน
- ตั้งอยู่ในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงใต้ของที่ราบเมโสโปเตเมียที่เรียกว่า “ซูเมอร์”
- ปกครองแบบนครรัฐ (City States) แต่ละนครรัฐเป็นอิสระไม่ขึ้นแก่กัน มีกษัตริย์เป็นผู้นำ นครรัฐที่สำคัญเช่น เมืองอูร์ เมืองเออรุคและเมืองอิริดู เป็นต้น
- นับถือเทพเจ้าหลายองค์ มีเทพเจ้าประจำนครรัฐ เน้นโลกนี้เป็นสำคัญ ไม่เชื่อเรื่องโลกหน้า
ซิกกูแรต
- สร้างซิกกูแรต (วิหารบูชาเทพเจ้า)
- วรรณกรรมกิลกาเมช กล่าวถึงการพจญภัยของสีรบุรุษชาวสุเมเรียน
- วรรณกรรมเอนลิล กล่าวถึงการสร้างโลกและน้ำท่วมโลก
- รู้จักใช้ระบบชลประทาน เช่น อ่างเก็บน้ำ เขื่อนกั้นน้ำ ประตูระบายน้ำ
- ดำรงชีพด้วยการเพาะปลูก พืชที่สำคัญคือ ข้าวสาลี
- รู้จักใช้ยานพาหนะเช่น รถม้า
- รู้จักใช้โลหะผสม(สำริด) ทำเครื่องมือ เครื่องประดับ
- รู้จักทอผ้า
- รู้จักการบวก ลบ คูณ ทำปฏิทินจันทรคติ(ข้างขึ้น ข้างแรม) การนับวันเวลา
อักษรคูนิฟอร์ม(รูปลิ่ม)
- ประดิษฐ์อักษรคูนิฟอร์ม(รูปลิ่ม) เขียนลงบนแผ่นดินเหนียวด้วยปากกาที่ทำจากต้นอ้อแล้วนำไปตากแห้ง
2. อมอไรต์ หรือ บาบิโลน
พระเจ้าฮัมมูราบี
- เป็นเผ่าเซมิติก อพยพมาจากทะเลทรายอาระเบียน มายึดครองนครรัฐของสุเมเรียน
- ขยายอาณาจักรไปกว้างขวางและสถาปณาจักรวรรดิบาบิโลเนีย
- กษัตริย์ที่สำคัญคือพระเจ้าฮัมมูราบี
- มีการประมวลกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่เก่าแก่ที่สุดในโลก คือกฎหมายฮัมมูราบี มีบทลงโทษแบบ “ตาต่อตา ฟันต่อฟัน”
3. ฮิตไทต์และคัสไซต์
ฮิตไทต์
มีความสามารถในการรบมาก
- เป็นเผ่าอินโดยุโรเปียน
- เดิมอยู่ทางตอนใต้ของรัสเซีย ขยายตัวมาตามลุ่มแม่น้ำยูเฟรติส โจมตีทางเหนือของซีเรีย ปล้นกรุงบาบิโลนและปกครองดินแดนเมโสโปเตเมียต่อมา
- มีความสามารถในการรบมาก
- เป็นชนเผ่าแรกที่รู้จักใช้เหล็กทำเป็นอาวุธ รู้จักใช้รถเทียมม้าทำศึก
- ตรงกับสมัยที่อียิปต์เรืองอำนาจ
- กษัตริย์ฮัตตูซิลิที่ 3แห่งฮิตไทต์ และฟาโรห์รามเสสที่ 2แห่งอียิปต์ได้ทำสนธิสัญญาไม่รุกรานกัน และหากบุคคลที่ 3มาโจมตี ต้องช่วยเหลือกัน
คัสไซต์
ซากกรุงบาบิโลน
- เข้ายึดครองกรุงบาบิโลน
4. แอสซีเรียน
- เป็นเผ่าเซมิติกมาจากทะเลทรายอาหรับ
- ศูนย์กลางอยู่ที่เมืองนิเนเวห์
- สามารถในการรบและการค้า
- ขยายอำนาจถึงฟินิเชีย ปาเลสไตน์ อียิปต์และเปอร์เซีย
- กองทัพแข็งแกร่ง มีระเบียบวินัยสูง
- ใช้เหล็กทำอาวุธ
พระราชวังซาร์กอน
- มีการก่อสร้างที่ใหญ่โตมหึมา มำทำเป็นโดม เช่นพระราชวังซาร์กอน
อักษรคูนิฟอร์ม
- มีการปั้นแบบนูนตัวและลอยตัว ให้อารมณ์สมจริง
- มีการแกะสลักภาพ เคลื่อนไหวแบบธรรมชาติ
- กษัตริย์องค์สุดท้ายคือ “พระเจ้าอัชชูบานิปาล” เป็นสมัยที่เจริญสูงสุด มีการสร้างหอสมุดรวบรวมข้อมูลมหาศาลและยังรวบรวมแผ่นดินเหนียวที่มีอักษรคูนิฟอร์ม22,000แผ่น
5.แคลเดีย
สวนลอยแห่งบาบิโลน
- สวนลอยแห่งบาบิโลน
- เป็นเผ่าเซเมติก โค่นล้มแอสซีเรียนได้
- สถาปณาจักรวรรดิแคลเดียนหรือบาบิโลเนียใหม่
- สร้างสวนลอยแห่งบาบิโลน ในสมัยพระเจ้าเนบูชัดเนสซาร์
- ทำแผนที่ดวงดาว
- คำนวณการเกิดสุริยุปราคา จันทรุปราคา
- แบ่งสัปดาห์เป็น 7 วัน
6. เปอร์เซีย
ชนเผ่าอินโดยุโรเปียน
ปกครองบริเวณที่ราบสูงอิหร่านมีราชวงศ์ต่างๆปกครอง ดังนี้
1) ราชวงศ์อะคีเมนิด
พระเจ้าไซรัสมหาราช
- ก่อตั้งโดยพระเจ้าไซรัสมหาราช ขยายอำนาจไปจนถึงแม่น้ำสินธุ
อียิปต์
- พระเจ้าดาริอุส ขยายจักรวรรดิกว้างขวางไปอีก สร้างเมืองหลวงที่สวยงามชื่อ “เปอร์ชีโปลิช” สร้างถนนเชื่อมดินแดนในจักรวรรดิ ได้ชื่อว่าเป็นยุคทองของเปอร์เซีย
- มีศาสนาโซโรแอสเตอร์ เป็นศาสนาประจำชาติ มีเทพเข้าอาหุรามาสดาเป็นเทพฝ่ายดีและอาหริมันป็นเทพฝ่ายชั่ว
- ถูกกษัตริย์อเล็กซานเดอร์มหาราชแห่งกรีกยึดครอง ทำให้เสื่อมลง
2) ราชวงศ์เซลิวชิด
อเล็กซานเดอร์มหาราช
- ก่อตั้งโดยทหารของกษัตริย์อเล็กซานเดอร์มหาราชแห่งกรีก แต่ไม่มีอำนาจ
3) จักรวรรดิของชาวปาร์เถียน
กรุงแบกแดด
- ย้ายเมืองหลวงไปที่แบกแดด
4) ราชวงศ์ซัลซานิด
ศาสนาซีโรแอสเตอร์
- ปกครองเป็นเวลา 400 ปีเศษ มีศาสนาอิสลามมาแทนที่ศาสนาซีโรแอสเตอร์
5) ราชวงศ์อับบาสิด หรือ
อาหรับมุสลิม
ราชวงศ์อับบาสิด
- มุสลิมรุ่งเรืองทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
- กษัตริย์ที่สำคัญคือ ฮารูณ อัล ราชิด ส่งเสริมด้านการค้าจนรุ่งเรือง
6) สมัยมองโกลปกครอง
กรุงแบกแดด
- ฮุลากุข่านหลานเจงกิสข่านมายึดกรุงแบกแดด ปกครองเป็นเวลา 200ปีครึ่ง
7) ราชวงศ์ซาฟาวี
ชาห์ อับบาสมหาราช
- ขับไล่มองโกลไปได้ ย้ายเมืองหลวงไปที่อิสฟาฮาน
- กษัตริย์ที่สำคัญคือ ชาห์ อับบาสมหาราช ปฏิรูปการปกครอง
- นับถืออิสลามนิกายชีอะห์
8) ราชวงศ์คะจาร์
- เชื้อสายเติร์ก ไม่ค่อยมีอำนาจ ปกครองแบบเผด็จการ
- รัสเซียและอังกฤษขยายอำนาจ
9) ราชวงศ์ปาเลวี
เรซา ชาห์ ปาเลวี
- กษัตริย์คนแรกคือ เรซา ชาห์ ปาเลวี เปลี่ยนชื่อจากเปอร์ซียเป็นอิหร่าน
- สมัยพระเจ้ามุฮำมัด เรซาห์ ชาห์ นำกฎหมายฝรั่งเศสมาใช้ มีการปฏิรูปที่ดิน แต่เศรษฐกิจก็ถดถ้อย
10) สมัยสาธารณรัฐอิสลาม
- อยาโตลลา โคไมนี โค่นราชวงศ์ปาเลวี เปลี่ยนการปกครองเป็นสาธารณรัฐ
- ต่อต้านสหรัฐอเมริกา
- เมื่ออยาโตลลา โคไมนีถึงแก่กรรม ผู้นำได้ดำเนินนโยบายสายกลาง ปฏิรูปเศรษฐกิจ ให้เสรีภาพ ให้สิทธิสตรี
📍ชนบางกลุ่มที่สร้างอารยธรรมในเอเชียไมเนอร์
1.) ฮิตไตท์
- เป็นชาติแรกที่รู้จักใช้เหล็ก
2.)ลิเดียน
- เป็นชาติแรกที่มีผลิตเหรียญกษาปณ์ขึ้นใช้
3.)ฟินิเชียน
- สร้างเรือใบขนาดใหญ่ รวมทั้งเมืองท่าขนาดใหญ่ด้วย
- นำอักษรของอียิปต์และลิ่่มมาดัดแปลงเป็นอักษรอัลฟาเบต(อักษรที่ใช้เสียงสระและพยัญชนะประสมกัน)ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของภาษากรีก-ละติน
4.)ฮิบรู
กษัตริย์โซโลมอน
- เป็นบรรพบุรุษของชาวยิว
- เรื่องราวของชาวฮิบนูปรากฏอยู่มนภาคแรกของคัมภีร์ไบเบิล
- กษัตริย์เดวิด เป็นปฐมกษัตริย์
- กษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือ
กษัตริย์โซโลมอน
- นับถือลัทธิยูดาย
- หลังจากกรีก-โรมัน
เรืองอำนาจในเอเชียตะวันตก
แต่อารญธรรมเมโสโปเตเมียก็ไม่สูญสลายก็มีวัฒนธรรมกรีก-โรมัน
เป็นรากฐานวัฒนธรรมโลกต่อมา
อักษรคูนิฟอร์ม
ความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์
มีการใช้อิฐในก่อสร้างและความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์ ชาวสุเมเรียนได้สร้างผลงานการก่อสร้างอื่นๆและทำปฏิทินจันทรคติ วันหนึ่งแบ่งเป็นกลางวัน 6 ชั่วโมง กลางคืน 6 ชั่วโมง การนับในหน่วย 60ซึ่งตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน เช่นการนับ 1 ชั่วโมงมี 60 นาที 1 นาทีมี 60 วินาที วงกลมมี 360 องศา (60หกครั้ง)
เป็นบทบัญญัติที่รวบรวมกฎหมายต่าง ๆ และพระราชกฤษฎีกาของกษัตริย์ฮัมมูราบี ราชาแห่งบาบิโลเนีย และเป็นประมวลกฎหมายที่เก่าแก่ที่สุด ประมวลกฎหมายนี้ถูกคัดลอกไว้โดยการแกะสลักลงบนหินบะซอลต์สีดำสูง 2.25 เมตร ซึ่งต่อมาทีมนักโบราณคดีฝรั่งเศสขุดพบที่ประเทศอิรัก ในช่วงฤดูหนาวปี 1901 ถึง 1902 หินสลักนี้แตกเป็น 3 ชิ้น และได้รับการบูรณะ
เป็นตำนานน้ำท่วมโลกที่เก่าแก่ของบาบิโลน เล่าเรื่องกษัตริย์กิลกาเมชกับเหตุการณ์น้ำท่วมโลก ปรากฏในจารึก 12 แท่งด้วยกัน (นักโบราณคดีส่วนมากเชื่อว่าจารึกแท่งที่ 12 นี้ถูกแต่งเพิ่มขึ้นในภายหลัง) ซึ่งสอดคล้องกับตำนานของชาวซูเมอร์ มหากาพย์เรื่องนี้จารึกไว้ในแผ่นดินเหนียวในหอเก็บจารึกของกษัตริย์แห่งอัสซีเรีย เมื่อราว ศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสตกาล
ลักษณะสําคัญของประติมากรรมอัสซีเรียเป็นแบบเหมือนจริงมีความละเอียดลออ
แสดง
กล้ามเนื้อ เส้นเลือดตามแขนขาของรูปคน หรือ สัตว์
โดยเน้นให้เห็นอย่างเด่นชัดทําให้เกิดความรู้สึก
แข็งแรงหนกแน่น
ตลอดจนสามารถแสดงความรู้สึกออกมาอย่างสมบูรณ์
- ภาพประติมากรรมนูนสูง เรียกว่า ลามาสสุ (LAMASSU) หรือ รูปวัวมีปีกที่มีศรีษะเป็นคน สูง 16 ฟุตจาก พระราชวังของพระเจ้าซาร์กอนที่ 2
- ภาพประติมากรรมนูนต่ำ รูปสิงโตตัวเมียที่กำลังนอนบาดเจ็บ (A WOUNDED LIONESS)
- ภาพประติมากรรมนูนต่ำ รูปกษัตริย์ อัสซูมานิบาล กำลังล่าสิงโต
- ภาพประติมากรรมนูนต่ำ รูปสิงโตกัดเด็กหนุ่ม ขนาดสูง 10 เซนต์ติเมตร ทำด้วยการแกะสลักงาช้าง พบในพระราชวัง ที่เมืองนิมรุด
พระราชวังของพระเจ้าซาร์กอน
สถาปัตยกรรม
สิ่งที่แสดงสำคัญถึงอำนาจอันยิ่งใหญ่ของอาณาจักรอัสซีเรียและมีความสำคัญที่สุด คือ
พระราชวังของพระเจ้าซาร์กอน (Sargon) ที่คอร์ซาบัด (Khorsabas) มีลักษณะเป็นกำแพงสูงทึบเป็นชั้น ๆ ขึ้นไป
นักโบราณคดีสันนิษฐานว่าการก่อสร้างตึกสูงเป็นชั้น ๆ
โดยมีพระราชวังอยู่ชั้นบนสุดนั้นเพื่อให้พ้นจากอุทกภัย ประตูทางเข้า ตัวกำแพง หรือป้อมค่ายต่าง ๆ
ล้วนมีรูปทรงเรขาคณิตทั้งนั้น
โดยเฉพาะส่วนโค้งนับว่าเป็นรูปแบบที่สำคัญที่สุดในการสร้างพระราชวังของพวกอัสซีเรียน
ประตูอิชตาร์ (THE ISHTAR GATE)
ในสมัยของพระเจ้าเนบูคัดเนซซาร์นั้นได้มีการสร้างกำแพงล้อมรอบกรุงบาบิโลนเอาไว้
โดยมีประตูหลวงที่เรียกว่า “ประตูอิชตาร์” (The Ishtar Gate)
ประตูนี้มีขนาดสูง 47 ฟุต สร้างจากวัสดุประเภทอิฐและเคลือบสีสวยงามมาก
มีการแกะสลักเป็นภาพสัตว์ประหลาดที่เรียกว่า “กริฟฟิน” (Griffin) นอกจากนี้ยังมีลวดลายรูปสัตว์ต่าง ๆ เช่น ม้า วัว สิงโต และมังกร ฯลฯ
ประดับอยู่ทั่วไปเป็นระยะ ๆ
ปัจจุบันกำแพงอิชต้าถูกเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์เบอร์ลิน (State Museum of
Berlin) ประเทศเยอรมัน
ซิกกูแรต (ZIGGURAT)
ซิกกูแรต (Ziggurat) เป็นสิ่งก่อสร้างของชาวสุเมเรียน
(Sumerians) ในแถบดินแดนเมโสโปเตเมีย
ซิกกูแรตนั้นมีลักษณะคล้ายพีระมิดแบบขั้นบันได
แต่จะไม่มีการก่อสร้างสูงจนเป็นยอดแหลมเหมือนกับปิรามิดของชาวอียิปต์
ด้านบนของซิกกูแรตจะเป็นพื้นที่ราบกว้างและสร้างเป็นวิหาร
ในระยะแรกการสร้างซิกูแรตมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา
ต่อมาซิกกูแรตนั้นได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของพระราชวังของกษัตริย์แทน เช่น
ซิกกูแรตที่เมืองอูร์ (Ur)
สวนลอยบาบิโลน (THE HANGING
GARDEN OF BABYLON)
สวนลอยบาบิโลน
จัดเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลก ตั้งอยู่บนแม่น้ำยูเฟรติส
ประเทศอิรักในปัจจุบัน สร้างโดยกษัตริย์เนบูคัดเนสซาร์ที่ 3 แห่งกรุงบาบิโลเนีย
สร้างให้แก่มเหสีของพระองค์ชื่อ พระนางเซมีรามีส สร้างขึ้นเมื่อ 600
ปีก่อนคริสต์ศักราช สูงประมาณ 75 ฟุต กินพื้นที่ 400 ตารางฟุต
ระเบียงทุกชั้นได้รับการตกแต่งด้วยไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้ยืนพุ่มชนิดต่างๆ
มีระบบชลประทานชักน้ำจากแม่น้ำไทกริสไปทำเป็นน้ำตกและนำไปเลี้ยงต้นไม้ตลอดปี
สวนนี้ได้พังทลายลงจากเหตุแผ่นดินไหวเมื่อหลังศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสต์ศักราช
ห้องสมุดดินเหนียว
ห้องสมุดดินเหนียว เป็นห้องสมุดที่ค้นพบในดินแดนเมโสโปเตเมีย
(Mesopotamia) ได้แก่แถบลุ่มแม่น้ำไทกรีส (Tigris) และยูเฟรตีส
(Euphrates) ปัจจุบันคือ ประเทศอิรัก ชนชาติต่าง ๆ
ในแถบนี้คือ ชาวสุเมเรียน (Sumerians) ชาวบาบิโลเนียน (Babylonians) และชาวอัสซีเรียน
(Assyrians) พวกนี้รู้จักบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ
ที่เกี่ยวกับความเป็นอยู่และวัฒนธรรมของตนลงบนแผ่นดินเหนียว
ศิลปะเครื่องประดับเมโสโปเตเมีย
ผลงานทางด้านเครื่องประดับของเมโสโปเตเมียนั้น
มีความงดงามที่น่าสนใจ ขุดค้นพบที่สุสานราชวงศ์กษัตริย์ที่เมืองเออร์ มีเครื่องประดับที่เป็นใบไม้ดอกไม้
ซึ่งเป็นงานออกแบบเพื่อการตกแต่งที่สวยงาม เป็นผลงานที่มีความประณีตสูง
โดยมากผลิตเครื่องประดับของเมโสโปเตเมียนิยมใช้เทคนิคการเคาะทุบด้วยค้อนในการขึ้นรูปทรง
และการใช้ตะปูหัวแบบต่างๆ มาตกแต่งรายละเอียด
จึงทำให้ผลงานเครื่องประดับของเม
📍เมโสโปเตเมียเป็นแหล่งอารยธรรมที่มีความเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่ง เมโสโปเตเมีย แปลว่า ดินแดนระหว่างแม่น้ำสองสายคือ แม่น้ำไทกรีสและยูเฟรทีส (ปัจจุบันคือดินแดนส่วนใหญ่ของประเทศอิรัก) ระหว่างสองฝั่งแม่น้ำทั้งสองสายเป็นพื้นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก ทำให้กลุ่มชนชาติต่างๆเข้ามาทำมาหากินและสร้างอารยธรรมขึ้น รวมทั้งถ่ายทอดอารยธรรมจากกลุ่มหนึ่งสู่กลุ่มหนึ่ง ทำให้เกิดอารยธรรมแบบผสม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น