🏭อารยธรรม
คำว่า อารยธรรม มีความหมายตามศัพท์ว่า
เจริญงอกงาม ตรงกับภาษาอังกฤษว่า civilization
มาจากคำภาษาละตินว่า civilis ซึ่งหมายถึง
พลเมือง civitas แปลว่า
เมืองหรือนคร
ความหมายของอารยธรรมทั่วไปจึงมีความเกี่ยวข้องกับมนุษย์ซึ่งเป็นผู้สร้างสรรค์อารยธรรมและสังคมเมืองพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน
(1367)ให้ความหมาย อารยธรรมว่า
ความสงบสุขของสังคมที่ตั้งอยู่บนรากฐานแห่งศีลธรรมและกฎหมาย; ความเจริญเนื่องด้วยองค์การของสังคม
เช่น การเมือง กฎหมาย เศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรม
ความเจริญด้วยขนบธรรมเนียมอันดี โดยทั่วไปอารยธรรมหลักของโลกมีลักษณะเด่น คือ
การมีความเจริญเป็นรุปแบบเฉพาะของตนเองและสิ่งหนึ่งที่มีลักษณะร่วมกัน คือ
อารยธรรมส่วนใหญ่เกิดขึ้นโดยได้รับแรงกระตุ้นจากอารยธรรมที่เก่าแก่กว่า ดังเช่น
อารยธรรมอียิปต์โบราณ ซึ่งได้รับอิทธิพลจากอารยธรรมเมโสโปเตเมียในช่วงระยะหนึ่ง
🏭กำเนิดของอารยธรรมกับพัฒนาการความคิด
ความเจริญและวิทยาการทั้งหลายที่เกิดขึ้นในโลกปัจจุบันล้วนมีรากฐานมาจากอารยธรรมในสมัยโบราณแทบทั้งสิ้น
ทั้งนี้ได้มีการผสมผสานกันและเชื่อมโยงกันระหว่างอารยธรรมเก่าและใหม่และมีการสืบทอดกันต่อๆ
มา แหล่งอารยธรรมเก่าแก่ของโลกสมัยโบราณเกิดขึ้นที่บริเวณราบลุ่มแม่น้ำที่ สำคัญ
และอารยธรรมจีนโบราณ ต่อจากนั้นเป็นอารยธรรมที่เกิดขึ้นบริเวณริมฝั่งทะเล คือ
โดยเริ่มจากอารยธรรมเมโสโปเตเมีย อารยธรรมอียิปต์โบราณ อารยธรรมอินเดียโบราณ
อารยธรรมกรีกโบราณ และมาสิ้นสุดสมัยนี้ที่อารยธรรมโรมันโบราณ
ของความเจริญให้แก่ดินแดนทั้งในโลกตะวันตกและตะวันออกในปัจจุบัน
อารยธรรมเหล่านี้ถือว่าเป็นแหล่งเชื่อมสัมพันธ์และติดต่อกันและเป็นรากฐาน
🏭ความเจริญของมนุษย์ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์
บรรพบุรุษของมนุษย์ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ เมื่อราว 2 ล้านปีมาแล้ว
ดำรงชีวิตอย่างเรียบง่าย ตามธรรมชาติ มีที่อยู่อาศัยไม่เป็นหลักแหล่ง
อาศัยอยู่ตามถ้ำและเพิงผา มีการสร้างเพิงพักเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยตามแหล่งอาหาร
ล่าสัตว์ จับปลา เก็บพืชป่านานาชนิดเป็นอาหารสืบมาหลายพันปี
จนเมื่อโลกมีสภาพอากาศที่เหมาะสม ภูมิอากาศเริ่มมีความชุ่มชื้นและอบอุ่นมากขึ้น
มนุษย์จึง เริ่มเรียนรู้การเพาะปลูกจากธรรมชาติ
เก็บเมล็ดพืชที่หล่นลงบนพื้นดินมาปลูกพืช พืชชนิดแรกที่ปลูกคือ ข้าวสาลี
ข้าวบาร์เลย์ป่า ขณะเดียวกันก็จับสัตว์ป่ามาเลี้ยงเพื่อเป็นอาหาร
ใช้ขนสัตว์และหนังสัตว์เป็นเครื่องนุ่งห่ม รู้จักการใช้แรงงานสัตว์ในการเพาะปลูกและเป็นพาหนะ
หลังจากนั้นจึงเริ่มพัฒนาจนมีการตั้งหลักแหล่งถาวร
รูปแบบที่อยู่อาศัยเปลี่ยนจากเพิงพักชั่วคราวมาเป็นบ้านที่มั่นคงแข็งแรง
มีการรวมตัวกันเป็นชุมชน
สร้างขอบเขตของหมู่บ้านชัดเจนขึ้นซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของสังคมแบบหมู่บ้านเกษตรกรรมและได้พัฒนาขึ้นเป็นสังคมเมือง
มีระบบการปกครองและสร้างสรรค์วัฒนธรรมที่พัฒนาเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์ในเวลาต่อมา
หมู่บ้านแห่งแรกๆ
ของโลกเริ่มในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำที่อุดมสมบูรณ์ในตะวันออกกลาง ปัจจุบันคือ
ประเทศอิรัก ตุรกี ปาเลสไตน์ เมื่อราว 1 หมื่นปีก่อนคริสต์ศักราช
สังคมแบบหมู่บ้านได้เริ่มพัฒนาเป็นสังคมเมืองที่มีความซับซ้อนมากขึ้น
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญ เช่น
เมืองโบราณเจริโค ในบริเวณเวสต์แบงก์
ใกล้กับแม่น้ำจอร์แดน ประเทศอิสราเอล ชาวเมืองอาศัยอยู่ในบ้านหลังเล็กก่อด้วยอิฐทำจากดิน
หลังคาทรงกลม มีพิธีกรรมการฝังศพ
ชาวเมืองเจริโคค้าขายกับชุมชนอื่นๆและสร้างกำแพงเมืองขนาดใหญ่ด้วยอิฐและหิน
เมืองโบราณชาตาลฮูยุค
ในบริเวณที่ราบคอนยา (Konya
Plain) ประเทศตุรกี เป็นเมืองขนาดใหญ่
จากหลักฐานทางโบราณคดีสันนิษฐานว่ามีพลเมืองราว 6,000 คนอาศัยอยู่
สร้างบ้านทรงสี่เหลี่ยมด้วยอิฐและดิน มีบันไดบนหลังคาและในบ้าน
ไม่มีประตูเข้าทางด้านหน้า บ้านทุกหลังต่อเชื่อมถึงกัน
บ้านแต่ละหลังมีห้องขนาดใหญ่ 1 ห้อง ทาสีและวาดภาพบนผนังบ้าน
ภายในบ้านมีกองไฟและม้านั่งดินเหนียวคลุมด้วยกก มีพิธีกรรมการฝังศพผู้ตาย
สร้างประติมากรรมดินเผาเป็นรูปคนลักษณะต่างๆ
เมืองโบราณเมร์การ์
ในหุบเขาริมแม่น้ำสินธุ ปัจจุบันคือประเทศปากีสถาน เมื่อราว 7
พันปีก่อนคริสต์ศักราช เป็นหมู่บ้านเกษตรกรรม ปลูกข้าวบาร์เลย์ เลี้ยงแกะ แพะ วัว
มีการทำภาชนะดินเผาแบบต่างๆและประติมากรรมดินเผาขนาดเล็ก
สร้างบ้านด้วยอิฐและดินเผา พบยุ้งข้าวในบริเวณเมืองเมร์การ์ในหุบเขาแม่น้ำสินธุ
อายุราว 6 พันปีก่อนคริสต์ศักราช
นอกจากนี้ในบริเวณตอนเหนือของจีนพบหลักฐานหมู่บ้านเกษตรกรรม ปลูกข้าวฟ่าง
เลี้ยงสุกรและสุนัข ทอผ้า ลักษณะบ้านมีหลังคา ผนังและเตาไฟ เช่น
แหล่งโบราณคดีที่บ้านโพ เมืองซีอาน (Xian) และบริเวณอ่าวหางโจว (Hangzhou Bay) มณฑลเจ้อเจียง
(Zhejiang) มีการทำภาชนะดินเผาเนื้อแกร่งสวยงาม
รมดำและเขียนสีให้เป็นลวดลายต่างๆ มีการปลูกข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์และข้าวเจ้า
เลี้ยงสัตว์ เช่น แพะ แกะ สร้างบ้านด้วยดินเผา
การตั้งถิ่นฐานเป็นหลักแหล่ง
ทำการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ เป็นผลทำให้จำนวนประชากรในชุมชนเพิ่มมากขึ้น
มีการค้าขายระหว่างกันทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนและสร้างสรรค์วัฒนธรรมและความเจริญทางเทคโนโลยีเกิดเป็นอารยธรรมโลกยุคโบราณขึ้น
อายธรรมของโลกยุคโบราณเกิดขึ้นในบริเวณแม่น้ำที่อุดมสมบูรณ์ ประกอบด้วย
เมโสโปเตเมีย ซึ่งเป็นดินแดนระหว่างแม่น้ำไทรกริสกับแม่น้ำยูเฟรทิส
ซึ่งปัจจุบันคือ ประเทศอิรัก อารยธรรมอียิปต์ในบริเวณลุ่มแม่น้ำไนล์ ประเทศอียิปต์
อารยธรรมอินเดีย ในบริเวณลุ่มแม่น้ำสินธุ
ซึ่งปัจจุบันอยู่ภายใต้เขตการปกครองของประเทศปากีสถานและทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย
อารยธรรมจีนในบริเวณลุ่มแม่น้ำหวงเหอและแม่น้ำ แยงซี
อารยธรรมกรีกในบริเวณเกาะครีตของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
อารยธรรมโรมันในบริเวณคาบสมุทรอิตาลี
อารยธรรมทั้งหมดดังกล่างข้างต้นมีวัฒนธรรมของการสร้างที่อยู่อาศัย การก่อสร้างศาสนสถาน
การประดิษฐ์ลายลักษณ์อักษร การทำภาชนะดินเผา การประดิษฐ์อาวุธ
เครื่องมือเครื่องใช้จากโลหะหลากหลายชนิด การเลี้ยงสัตว์ การเพาะปลูก
และมีรูปแบบของสังคมที่มีโครงสร้างชัดเจนขึ้น พัฒนาเป็นระบบการเมืองการปกครอง
ซึ่งได้เป็นต้นกำเนิดของอารยธรรมตะวันตกและอารยธรรมตะวันออกสืบต่อมา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น