ฮิบรูหรือยิว
ชาวฮีบรู
พวกฮีบรูหรือยิว
เป็นชนเผ่าเซเมติกที่เดินทางเร่ร่อนในทะเลทรายประมาณ 1,400 ปีก่อนคริสตกาลกล่าวกันว่าโมเสส (Moses) เป็นผู้นำคนสำคัญได้ปลดแอกชาวฮีบรูจากการเป็นทาสของอียิปต์
และพาชาวฮีบรูทั้งหมดอพยพไปตั้งถิ่นฐานในดินแดนแห่งคำมั่นสัญญา (The promised land
) อันได้แก่ ดินแดนปาเลสไตน์ (Palestine ) หรือแคนาน (Canaan) ที่เชื่อกันว่าเป็นดินแดนที่พระเจ้าของบรรพบุรุษอับราฮัมหรือพระเยโฮวา
(Yehovah) ทรงประทานให้ ชนชาตินี้มีกษัตริย์ที่มีความสามารถและสร้างความเจริญให้แก่อาณาจักร คือกษัตริย์เดวิด และกษัตริย์โซโลมอน
อารยธรรมที่ชาวฮีบรูได้มอบให้แก่โลก
คือศาสนาของพวกฮีบรู หรือที่เรียกว่าศาสนายูดาย (Judaism) เป็นศาสนาที่เน้นการบูชาพระเจ้าองค์เดียว
ซึ่งได้แก่ พระเยโฮวา และชาวฮีบรูเป็นประชาชนที่พระองค์ได้เลือกสรรแล้ว (God’s
chosen people)ความผูกผันได้บันทึกไว้ในพันธสัญาญาเดิม หรือ พระคัมภีร์เก่า
การนับถือพระเจ้าองค์เดียวของชาวฮีบรูเป็นต้นกำเนิดของศาสนาที่สำคัญของโลก คือ
ศาสนายูดาย คริสต์และอิสลาม อาจกล่าวได้ว่าพระคัมภีร์ของพวกฮีบรูเป็นวรรณกรรมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเรื่องหนึ่งและเป็นผลงานที่ส่งเสริมความเจริญของอายธรรมตะวันตกในด้านภาษา
ชีวิตความเป็นอยู่และทัศนคติในการครองชีพมากที่สุด
ประมาณ 700 ปีก่อนคริสตกาล
ชนชาติฟีนีเซียนและฮีบรูถูกครอบครองอยู่ภายใต้อาณาจักรอัสซีเรีย (Assyria) ชนชาติอัสซีเรียนได้ปรับปรุงวิธีการรบด้วยการประดิษฐ์รถม้าและอาวุธที่ทำด้วยเหล็ก
ชนชาตินี้มีระบบบริหารราชการส่วนภูมิภาคที่มีประสิทธิภาพยิ่ง
ภายหลังอาณาจักรอัสซีเรียเสื่อมอำนาจลงได้เกิดอาณาจักรเปอร์เชียทางตะวันออกกลาง
ต่อมาขยายอาณาเขตไปทางเหนือจนจรดทะเลดำ ทิศตะวันออกขยายไปถึงอินเดีย
ทิศใต้จรดมหาสมุทรอินเดีย ทิศตะวันตกจรดแม่น้ำไนล์ และยกกองทัพบุกโจมตีชนชาติกรีก
แต่นครรัฐสปาร์ตาและรัฐเอเธนส์ต่อต้านไว้ได้
🐪ภาษาฮีบรู
จุดกำเนิดของภาษาฮีบรู
ภาษาฮีบรูจัดอยู่ในภาษากลุ่มเซมิติก โดยอยู่ในสาขาตะวันตกเฉียงเหนือ เริ่มปรากฏเมื่อ 3,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ภาษาคานาอันไนต์ที่อยู่ในกลุ่มนี้เริ่มปรากฏเมื่อราว 2,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช คาดว่าแยกออกมาจากภาษาอราเมอิกและภาษายูการิติกภายในภาษากลุ่มคานาอันไนต์ด้วยกันนั้น ภาษาฮีบรูอยู่ในกลุ่มย่อยเดียวกับภาษาอีโดไมต์ ภาษาอัมโมไนต์ และภาษามัวไบต์ ส่วนภาษาคานาอันไนต์อีกกลุ่มหนึ่งคือกลุ่มของภาษาฟินิเชียและภาษาลูกหลานคือภาษาปูนิก
ภาษาฮีบรู
เป็นภาษากลุ่มเซมิติกในกลุ่มแอฟโร-เอเชียติก มีผู้พูดมากกว่า 7
ล้านคนในอิสราเอลและอีกจำนวนหนึ่งในชุมชนชาวยิวทั่วโลก ในอิสราเอลถือว่าเป็นภาษาที่แท้จริงของรัฐและประชาช
นและเป็นภาษาราชการคู่กับภาษาอาหรับชื่อในภาษาฮีบรูของภาษาฮีบรูคือ עברית, หรือ Ivrit (อ่านว่า "อิฝริต eev-REET" หรือ /iv.'rit/ ใน IPA)
ตานิชหรือคัมภีร์ไบเบิลภาคภาษาฮีบรูหรือโตราห์ (Torah) ของศาสนายูดาย
เขียนด้วยภาษาฮีบรูคลาสสิกซึ่งเชื่อว่าเป็นสำเนียงของภาษาฮีบรูที่ใช้เมื่อ 500
ปีก่อนคริสตศตวรรษ ใกล้กับยุคที่ชาวยิวถูกเนรเทศไปบาบิโลเนีย
ภาษาฮีบรูเป็นภาษาศักดิ์สิทธิ์(לשון הקודש Leshon
ha-Kodesh: เลโชน
ฮา-โกเดช)ของชาวยิวตั้งแต่สมัยโบราณ นักภาษาศาสตร์ส่วนใหญ่ระบุว่าหลัง 57
ปีก่อนพุทธศักราช
ซึ่งเป็นยุคที่จักรวรรดิบาบิโลเนียใหม่ทำลายกรุงเยรูซาเลมและอพยพชาวยิวไปยังบาบิโลนและพระเจ้าไซรัสมหาราช แห่งเปอร์เซียปลดปล่อยชาวยิวให้เป็นไท ภาษาฮีบรูสำเนียงในไบเบิลถูกแทนที่ด้วยสำเนียงใหม่ๆของภาษาฮีบรูและภาษาอราเมอิก
ที่ ใช้ในท้องถิ่นนั้น
หลังจากพุทธศตวรรษที่ 7 จักรวรรดิโรมันเข้ายึดครองกรุงเยรูซาเลมและอพยพชาวยิวออกไป
ภาษาฮีบรูเริ่มใช้เป็นภาษาพูดน้อยลงแต่ยังคงเป็นภาษาทางศาสนาและภาษาในการ เขียน
หลังจากเยรูซาเลมถูกชาวบาบิโลนทำลายครั้งแรก
586 ปีก่อนคริสตกาล ผู้รู้ส่วนใหญ่เห็นว่า
ภาษาฮีบรูชนิดที่ใช้ในไบเบิลถูกแทนที่ด้วยฮีบรูมิชนาอิก (Mishnaic) และภาษาอราเมอิกชนิดท้องถิ่น ในชีวิตประจำวัน
หลังจากการหดหายของชาวยิวในบางส่วนของจูเดีย (Judea) ที่ชาวโรมันเข้าไปครอบครอง
ภาษาฮีบรูเลิกใช้เป็นภาษาพูดราวคริสต์ศตวรรษที่ 2
แต่ยังคงเป็นภาษาเขียนที่สำคัญตลอดหลายศตวรรษ นอกจากจะใช้ในศาสนาแล้ว
งานเขียนสำหรับวัตถุประสงค์อื่น ๆ เช่น จดหมาย วิทยาศาสตร์ ปรัชญา การแพทย์ บทกวี
บันทึกศาล ล้วนใช้ภาษาฮีบรู ซึ่งได้เข้ากับวงความรู้และคำเฉพาะใหม่ ๆ
โดยคำยืมและคำประดิษฐ์ใหม่
ภาษาฮีบรูยังคงถูกรักษาไว้ในฐานะภาษาเขียนโดยชุมชนชาวยิวทั่วโลก
จนกระทั่งมีการตั้งลัทธิไซออนนิสต์เพื่อฟื้นฟูชาติยิว
สมาชิกไซออนนิสต์ส่งเสริมให้มีการแทนที่ภาษาพูดของชาวยิวในขณะนั้น เช่นภาษาอาหรับ
ภาษาจูเดสโม (Judezmo, ภาษาลาดิโน Ladino ก็เรียก) ภาษายิดดิช
ภาษารัสเซีย และภาษาอื่น ๆ ของชาวยิวที่อาศัยอยู่ต่างประเทศ
เป็นภาษาของศาสนายิวส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ในประเทศอิสราเอล ภาษาฮีบรู
มีการสร้างคำใหม่โดยยืมจากภาษาฮีบรูในไบเบิลหรือจากภาษาอาหรับและภาษาอราเม อิก รวมทั้งภาษาในยุโรป
เช่น ภาษาฝรั่งเศส ภาษารัสเซีย และภาษาเยอรมัน
ภาษาฮีบรูกลายเป็นภาษาราชการของปาเลสไตน์ภายใต้การปกครองของอังกฤษตั้งแต่ พ.ศ.
2464 คู่กับภาษาอังกฤษและภาษาอาหรับ และกลายเป็นภาษาราชการของอิสราเอลตั้งแต่ พ.ศ.
2491
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น