อารยธรรมสุเมเรียน



สุเมเรียน



          เมื่อประมาณ 4,000 ปีก่อนคริสต์ศักราชชาวสุเมเรียนได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในบริเวณดินดอนสามเหลี่ยม (Delta) ปากแม่น้ำไทกรีส-ยูเฟรตีส ซึ่งเรียกกัน ในเวลาต่อมาว่าดินแดนซูเมอร์ ในระยะแรกชุมชนชาวสุเมเรียนเป็นหมู่บ้านยุคหินใหม่ หมู่บ้านเหล่านี้ได้ขยายตัวขึ้นเป็นชุมชนวัด และในเวลาต่อมา ชุมชนวัดแต่ละแห่งได้พัฒนาขึ้นเป็นเมือง ที่สำคัญ ได้แก่เมืองเออร์(Ur) เมืองอิเรค (Ereck) เมืองอิริดู (Eridu) เมืองลากาซ (Lagash) และเมืองนิปเปอร์ (Nippur) แต่ละเมืองมีชุมชนเล็กๆ ที่รายรอบอยู่เป็นบริวาร ทำให้มีลักษณะเป็นรัฐขนาดเล็กที่เรียกว่านครรัฐ (City State) นครรัฐเหล่านี้ต่างปกครองเป็นอิสระแก่กัน

          ในขณะที่ชาวสุเมเรียน สถาปนานครรัฐขึ้นทางตอนล่างของลุ่มแม่น้ำไทกรีส - ยูเฟรตีส หลายนครรัฐชนกลุ่มอื่นๆ ก็ได้สถาปนานครรัฐของตน ในบริเวณตอนเหนือขึ้นไปอีกหลายแห่งแต่มีความเจริญทางอารยธรรมด้อยกว่านครรัฐ ของชาวสุเมเรียนในดินแดนซูเมอร์ก็ตามแต่ภาษาที่ใช้สืบมาจากรากเดียวกันคือ ภาษาอินโด-ยูโรเปียน อันเป็นต้นกำเนิดจากภาษาลาติน กรีก เปอร์เซีย สันสกฤต รวมทั้งภาษาเยอรมันและภาษาโรมานซ์ในปัจจุบัน มองจากแง่ของภาษาอนารยชนกลุ่มใหม่เหล่านี้ก็คือบรรพบุรุษของเรานั่นเอง การบุกรุกทางใต้ของชนเหล่านี้มีผลทำให้ชนเผ่าอื่นถูกแย่งที่ไปอย่างรุนแรงใน ช่วงประมาณปี 1750 ถึง1550 ก่อนคริสตกาล พวกอนารยชนดังกล่าวตลอดจนพวกอื่นๆ ที่ดำเนินรอยตามได้ทำลายความต่อเนื่องทางการเมืองและวัฒนธรรมของดินแดนตะวัน ออกใกล้สมัยโบราณ ประมาณปี 1595 ผู้รุกรานเผ่าอินโด-ยูโรเปียน ก็ทำให้ราชวงศ์ของพระเจ้าฮัมบูราบีในนครบาบิโลนต้องสิ้นสุดลงซึ่งฉุดให้เมโสโปเตเมียเข้าสู่ช่วงเวลาอันยาวนานของความเสื่อมของทางวัฒนธรรมและความไม่สงบ ทางการเมือง

          คนกลุ่มแรกที่สร้างสรรค์อารยธรรมเมโสโปเตเมียขึ้นคือชาวสุเมเรียน ผู้คิดประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นเป็นครั้งแรกในโลก อารยธรรมที่ชาวสุเมเรียนสร้างขึ้นเป็นพื้นฐานสำคัญของอารยธรรมเมโสโปเตเมีย สถาปัตยกรรม ตัวอักษร วรรณกรรม ศิลปกรรมอื่นๆ ตลอดจนทัศนคติต่อชีวิตและเทพเจ้าของชาวสุเมเรียนได้ดำรงอยู่และมี อิทธิพลอยู่ในลุ่มแม่น้ำทั้งสองตลอดช่วงสมัยโบราณ




☁️การปกครอ

          พระหรือนักบวชมีอำนาจมาก พระมีอำนาจในการปกครองแผ่นดินและเป็นประมุขสูงสุดเรียกว่า Patesi ทำการปกครองในนามของพระเจ้าดูแลควบคุมกิจการภายในนครรัฐ

☁️เศรษฐกิจและสังคม

          อาชีพหลักคือเกษตรกรรม มีความชำนาญ มีการใช้ระบบชลประทาน ขุดคลองระบายน้ำ ทำการเพาะปลูกโดยเป็นไร่ขนาดใหญ่ ปลูกผลไม้ ประดิษฐ์คันไถ เครื่องหยอดเมล็ด มีการเลี้ยงสัตว์ เครื่องปั้นดินเผา มีมาตราชั่งตวงวัด การทอผ้าและย้อมผ้า

มีการแบ่งชนชั้นทางสังคมเป็น 3 กลุ่มคือ
  • ชนชั้นสูง ได้แก่ กษัตริย์ พระราชวงศ์ พระชั้นผู้ใหญ่ ขุนนาง
  • ชนชั้นสามัญ เป็นเสรีชน ลูกจ้างของขุนนาง
  • ทาส
  • ชาวต่างประเทศและเชลยสงคราม หรืออาชญากรที่ถูกลงโทษ
☁️การเขียนหนังสือ


          ชาวสุเมเรียนเป็นชนชนาติแรกในเมโสโปเตเมียที่รู้จักการเขียนหนังสือตั้งแต่ 3000 ปีก่อนคริสตกาล โดยการประดิษฐ์อักษรรูปลิ่ม หรือที่เรียกว่า คูนิฟอร์ม (Cuneiform) ภายหลังได้ดัดแปลงแก้ไข มีการคิดเครื่องหมายต่างๆ เพื่อใช้แทนภาพ

☁️ศาสน

มีส่วนสำคัญมากในชีวิตของชาวสุเมเรียน พระดำรงตำแหน่งในการปกครองและตำแหน่งสำคัญอื่นๆ นับถือพระเจ้าหลายองค์พร้อมๆกัน มีการสร้างหอวิหารใหญ่โตเรียกว่า ซิกกูแรต (Ziggurat) เป็นวัดที่มีรูปร่างคล้ายปิรามิด ทำเป็นชั้นๆสร้างขึ้นด้วยอิฐ เพื่อเป็นที่ประทับของเทพเจ้า


☁️สถาปัตยกรร



          ส่วนใหญ่ก่อสร้างด้วยอิฐ เนื่องจากมีดินเหนียวบริเวณนี้มาก มีสองประเภทคือ อิฐตากแห้ง (Sun dried brick) และอิฐเผาไฟ (baked brick) ซึ่งป้องกันความชื้นได้ดี ใช้สร้างยกพื้น กำแพงและส่วนก่อสร้างที่ต้องการความมั่นคงถาวร

          ซิกกูแรต (Ziggurat) เป็นสิ่งก่อสร้างของอารยธรรมสุเมเรียน (Sumerians) ในบริเวณเมโสโปเตเมีย มีลักษณะคล้ายพีระมิดแบบขั้นบันไดแต่ไม่ก่อสร้างสูงจนเป็นยอดแหลม ด้านบนของซิกกูแรตซึ่งเป็นพื้นที่ราบกว้างจะสร้างเป็นวิหาร ในระยะแรกการสร้างซิกูแรตมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา แต่ต่อมาซิกกูแรตนี้ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของพระราชวังกษัตริย์ เช่น ซิกกูแรตที่เมืองอูร์ (Ur)

          ซิกกูแรตสร้างขึ้นด้วยวัสดุจำพวกอิฐและไม้ ความแข็งแรงคงทนจึงสู้งานสถาปัตยกรรมยุคต่อมา เช่น พีระมิดอียิปต์ไม่ได้ เพราะงานของอียิปต์สร้างด้วยวัสดุจำพวกหิน ซิกกูแรตเก่าแก่ที่สุดเท่าที่ค้นพบมีชื่อว่า “The White Temple” พบที่เมืองอูรุค (Uruk)หรือวาร์กา (Warka) บริเวณพื้นที่ประเทศอิรักในปัจจุบัน มีอายุประมาณ 3,500 – 3,000 ปี ก่อนคริสตกาล ซึ่งเก่าแก่กว่าพีระมิดของอียิปต์หลายร้อยปี

☁️ปฏิทิ

          เป็นแบบจันทรคติ เดือนหนึ่งมีประมาณ 29.5 วัน ปีหนึ่งมี 12 เดือน ปีหนึ่งมี 354 วัน เดือนหนึ่งแบ่งออกเป็น 4 สัปดาห์ๆ ละ 7-8 วัน วันหนึ่งแบ่งเป็นกลางวัน 6 ชั่วโมง กลางคืน 6 ชั่วโมง (1 ช.ม. = 2 ช.ม. ในปัจจุบัน)

☁️วรรณกรร

          มีนิยาย กาพย์ กลอน ซึ่งท่องจำต่อๆกันมา งานส่วนใหญ่เกี่ยวกับศาสนา เช่น บทสวด คำโคลงสดุดีเทพเจ้า ฯลฯ ที่เด่นที่สุดคือ มหากาพย์กิลกาเมช (Gilgamesh) ปรากฏในจารึก 12 แท่งด้วยกัน ซึ่งเป็นเรื่องราวของวีรบุรุษกิลกาเมซซึ่งเป็นกษัตริย์ชาวอูรุก สุเมเรียนมีอำนาจปกครองบริเวณซูเมอร์เกือบพันปี ต่อมาพวกชนเผ่าเซเมติค

          แทรกซึมทางตะวันตก ผู้นำชนเผ่าคือ พระเจ้าซาร์กอนแห่งแอคคัดได้ยกกำลังกองทัพลงมาในเขตซูเมอร์ ทำให้นครรัฐสุเมเรียนยอมแพ้ มหากาพย์เรื่องนี้จารึกไว้ในแผ่นดินเหนียวในหอเก็บจารึกของกษัตริย์แห่งอัสซีเรีย เมื่อราวศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสตกาล
           
☁️มังกรในตำนานของชาวสุเมเรีย

          มังกรในตำนานของชนสุเม-เรียนแห่งนครบาบิโลน ซึ่งก่อตั้งขึ้นราว 2,000 ปีก่อน ค.ศ. โดยตำนานเล่าว่า หลังกำเนิดของพิภพ มีมังกรเพศเมียนามว่า ติอาแม็ท (TIAMAT) เป็นเทพีแห่งทะเลนํ้าเค็ม เมื่อนํ้าเค็มของติอาแม็ทผสมผสานกับนํ้าจืดของเทพ อัพสุ (APSU) ก็เกิดการปฏิสนธิของเทพองค์อื่นๆ อีกมากมาย

          ต่อมาอัพสุต้องการชิงอำนาจจากจอมเทพ อีอา (EA) จึงเกิดเทวสงครามขึ้น แรกๆ ทัพของอัพสุกับติอาแม็ททำท่าว่าจะมีชัย แต่แล้วก็เกิดมีวีรเทพซึ่งเป็นโอรสของอีอาพระนามว่า มาร์ดุค (MARDUK) เข้ามาขัดขวางติอาแม็ทอ้าโอษฐ์ เพื่อกลืนกินมาร์ดุค แต่วีรเทพได้สาดมหาพายุเข้าไปในโอษฐ์ของเธอจนหุบไม่ลง แล้วมาร์ดุคก็ใช้แหจับติอาแม็ทไว้ได้ เอาศรเสียบร่างแล้วเอาดาบ ผ่ากายของเธอออกเป็นสองซีก ซีกหนึ่งบังเกิดเป็นหลังคาสวรรค์ อีกซีก หนึ่งเป็นท้องมหาสมุทร นอกจากนี้ มาร์ดุค ยังเอาดาบเสียบลูกตาของติอาแม็ท โลหิตที่หลั่งไหลออกมากลายเป็นแม่นํ้าสองสาย คือ ไทกริส กับ ยูเฟรติส แห่งดินแดนเมโสโปเตเมีย

☁️ข้อควรสังเก

          1.บริเวณเมโสโปเตเมียเป็นบริเวณที่มีอากาศรุนแรง ฤดูร้อนอากาศร้อนจัด ฤดูหนาวอากาศหนาวจัด ฝนตกน้อย (ปีหนึ่งไม่เกิน 3 นิ้ว) ความรุนแรงของภูมิอากาศทำให้ผู้คนที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้ขาดความกระตือ รือร้น เมื่อถูกศัตรูที่แข็งแกร่งรุกรานก็หลีกทางให้ เมโสโปเตเมียจึงเป็นบริเวณที่มีชนหลายชาติหลายภาษาผลัดเปลี่ยนกันเข้ามายึด ครองตลอดเวลา


          2.เมโสโปเตเมียตั้งอยู่ในที่โล่ง ปราศจากกำแพงธรรมชาติที่จะป้องกันการบุกรุกจากศัตรูภายนอกชนพวกแรกที่เข้ามา ตั้งถิ่นฐานบริเวณเมโสโปเตเมียคือ พวกสุเมเรียน (Sumerian) ชนพวกนี้จะสืบเชื้อสายมากจากชาติใดไม่อาจทราบชัดทราบแต่เพียงว่า เดิมเป็นชนเผ่าพเนจร อพยพมาจากภูเขาทางทิศตะวันออก เข้าไปตั้งถิ่นฐานแถบบริเวณปากแม่น้ำทั้งสองก่อนเมื่อประมาณ 2900-2800 ปีก่อนคริสตกาลแล้วขยายสู่คาบสมุทรชินาร์ (Shinar)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น