อารยธรรมอัสซีเรียน


อัสซีเรียน



          ประมาณปี 3000 ก่อนคริสตกาล ขณะสุเมเรียนปกครองซูเมอร์ อัสซีเรียเป็นเซมิติค ได้เข้าตั้งมั่นในดินแดนทางตอนเหนือของเมโสโปเตเมีย บนลุ่มแม่น้ำไทกรีสจากการไม่มีพรมแดนธรรมชาติช่วยป้องกันภัยทำให้อัสซีเรีย มักถูกโจมตีโดยชุมชนใกล้เคียงเริ่มจากสุเมเรียน อัคคาเดียนและอมอไรท์ เป็นต้น ขณะอยู่ภายใต้การปกครองของชนผู้เจริญเหล่านี้ อัสซีเรียได้เรียนรู้และรับอารยธรรมด้านต่าง ๆ ไว้โดยเฉพาะอารยธรรมสุเมเรียน-อมอไรท์  ประมาณปี 1815 ก่อนคริตกาลของอมอไรท์ปกครองเมโสโปเตเมีย ในสังคมอัสซีเรีย ปรากฎว่า Shamshi - Adas (1815-1782 B.C.) ซึ่งเป็นอมอไรท์ได้ตั้งตนเป็นผู้นำอัสซีเรียและพยายามสร้างความเป็นปึกแผ่น ให้แก่อัสซีเรียแต่ไม่ประสบความสำเร็จระหว่างปี 1310-1232 ก่อนคริสตกาลของคัสไซท์ปกครองเมโสโปเตเมียนั้น จากความพร้อมและความสามารถในการรบของอัสซีเรีย ซึ่งจัดตั้งจักรวรรดิอัสซีเรียครั้งที่หนึ่งได้สำเร็จ  (The First Assyrian Empire) ที่กรุงนิเนเวห์ (Nineveh) เป็นเมืองหลวง

          ความสามารถในการรบของอัสซีเรียเป็นที่ปรากฎ โดยสามารถกำจัดอำนาจจิตโตท์ออกจากดินแดนทางตะวันตกของลุ่มแม่น้ำยูเฟรตีสได้สำเร็จ และอัสซีเรียต้องสู้รบกับกองกำลังของอียิปต์โบราณด้วยความเกรงใจ กองกำลังทหารของอัสซีเรีย อียิปต์โบราณ  และฮิตไตท์ได้รวมกำลังมุ่งสกัดต้านทานกำลังทหารของอัสซีเรีย อย่างไรก็ตาม จักรวรรดิอัสซีเรียครั้งที่หนึ่งต้องสลายลงในปี 1232 ก่อนคริสตกาลระหว่างปี 858-612 ก่อนคริสตกาลเป็นช่วง สมัยจักรวรรดิอัสซีเรียครั้งที่สอง (The Second Assyrian Empire)

          อาณาจักรอัสซีเรียมีความเจริญมาช้านาน ตราบจนกระทั่งสิ้นสุดรัชสมัยของพระเจ้าอัสสุรบานิปาล (Assurbanipal)กรุงนิเนเวห์ (Nineveh) ได้ถูกทำลายลงโดยกองทัพร่วมของพวกมีเดีย และพวกบาบิโลเนีย หลังจากนั้นอาณาจักรอัสซีเรีย ได้ถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน อารยธรรมซึ่งเคยเจริญมาช้านานได้ดับวูบลง ทำให้อาณาจักรบาบิโลเนียใหม่ของแคลเดียน (Neo Babylonian) ภายใต้การนำของกษัตริย์ Nebuchadnezza ขยายพระราชอาณาจักรและจุดแสงแห่งอารยธรรมขึ้นมาใหม่อีกครั้งหนึ่ง

          อาณาจักรอัสซีเรียได้รับอารยธรรมจากสุเมเรีย เช่นเดียวกับบาบิโลเนีย เพราะฉะนั้น ศิลปกรรมของอาณาจักรเหล่านี้มีลักษณะคล้ายคลึงกัน ชนเผ่าอัสซีเรียมีนิสัยที่โหดร้ายทารุณ ตรงข้ามกับชาวบาบิโลเนียมีนิสัยที่อ่อนโยนและสุภาพ แต่เป็นสิ่งน่าแปลกมากที่ชาวอัสซีเรียกลับเป็นพวกที่มีอารยธรรมสูงไม่แพ้ชาวเมโสโปเตเมียกลุ่มอื่น ๆ 

📒ผลงานที่สำคัญ ได้แก

          1.จากแผ่นจารึก ที่นักโบราณคดีได้ค้นพบนั้นแสดงให้เห็นว่าชนกลุ่มนี้มีความสามารถในการแต่งบทประพันธ์และตำนานต่าง ๆ โดยจารึกเป็นอักษรคูนิฟอร์ม (Cuneiformเก็บไว้ในสถานที่ที่เราอาจจะเรียกได้ว่าเป็นห้องสมุด การเขียนหนังสือของคนพวกนี้ใช้วิธีเดียวกับชาวสุเมเรียและชาวบาบิโลเนีย โดยใช้เหล็กจารลงบนดินเหนียวแล้วนำไปเผาไฟ แผ่นจารึกอักษรคูนิฟอร์มแบบนี้นอกจากจะเป็นบันทึกในทางประวัติศาสตร์ ตำนาน และคำประพันธ์แล้ว บางชิ้นยังมีลักษณะเป็นจดหมายสื่อสารอีกด้วย เพราะเหตุว่าแผ่นจารึกที่เป็นจดหมายเหล่านี้จะถูกเก็บไว้ในก้อนดินเผา ซึ่งทำหน้าที่เหมือนกับซองจดหมายเวลาเขย่าจะมีเสียงดัง เพราะฉะนั้น เวลาจะอ่านจดหมายเหล่านี้จำเป็นต้องทุบส่วนนอกก่อน แล้วจึงจะพบตัวจดหมาย



          2.สถาปัตยกรรม : ที่สำคัญที่สุดและแสดงให้เป็นถึงอำนาจอันยิ่งใหญ่ของอาณาจักรอัสซีเรีย สามารถดูได้จากพระราชวังของพระเจ้าซาร์กอน (Sargon) ที่คอร์ซาบัด (Khorsabas) (คนละองค์กับพระเจ้า Sargon แห่ง Akkad)พระราชวังนี้สร้างประมาณ 2,340 2,180 B.C. ก่อเป็นกำแพงสูงทึบเป็นชั้น ๆ ขึ้นไป นักโบราณคดีหลายท่านสันนิษฐานว่าการที่ก่อสร้างตึกสูงเป็นชั้น ๆ โดยมีพระราชวังอยู่ชั้นบนนั้นเพื่อให้พ้นจากภัยน้ำท่วมครั้งใหญ่ ถึงแม้ว่าตัวตึกจะสูงมาก แต่ก็สามารถเดินถึงขั้นบนสุดได้โดยทางบันไดหรือสามารถขี่รถม้า (Chariot) ขึ้นไป โดยอาศัยทางลาดสำหรับตัวพระราชวังก่อด้วยอิฐเคลือบ เพราะฉะนั้นพื้นผิวจึงมีลักษณะเป็นมันงดงามมาก เป็นที่น่าสังเกตว่าประตูทางเข้าซิกกูรัต ตัวกำแพงที่ทำหน้าที่ค้ำตัวอาคาร และบรรดาป้อมค่ายต่าง ๆ เหล่านี้ ล้วนมีรูปทรงเรขาคณิต โดยเฉพาะส่วนโค้งนับว่าเป็นรูปแบบที่สำคัญที่สุดในการสร้างพระราชวัง พวกอัสซีเรีย พวกเขาสามารถสร้างให้ส่วนโค้งกับตัวอาคารอื่น ๆ มีความสอดคล้องและสัมพันธ์กัน จากหลักฐานอีกชิ้นหนึ่งที่ขุดพบได้ในพระราชวังคอร์ซาบัด (Khorsabad) ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการนำเอาส่วนโค้งเข้ามาใช้ คือ ซากของท่อระบายน้ำและส่วนประกอบอื่น ๆ ที่พบนั้นเป็นรูปครึ่งวงกลม การที่ชาวอัสซีเรียได้นำเอาลักษณะโค้งเข้ามาใช้ในสถาปัตยกรรมนี้เอง ทำให้นักโบราณคดีส่วนมากเชื่อว่าศิลปกรรมของเมโสโปเตเมีย เป็นพื้นฐานทางศิลปกรรมของพวกอียิปต์ และยุโรปในสมัยต่อมา

          3.การสลักภาพนูนต่ำ ( base relief ) เป็นมรดกทางศิลปกรรมที่สำคัญ แสดงภาพเกี่ยวกับชีวิตประจำวันของชาวอัสซีเรีย ได้แก่ การล่าสัตว์ การทำสงคราม ศิลปวัฒนธรรมเจริญสูงสุดในสมัยพระเจ้าอัสซูร์บานิปาล




          
4.ห้องสมุดนิเนเวห์ มีการเก็บรวบรวมงานเขียนที่เป็นแผ่นจารึกต่าง ๆไว้ถึง 22,000 แผ่น นับเป็นห้องสมุดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดสมัยนั้น สร้างโดยพระเจ้าอัสซูร์บานิปาล


 
ห้องสมุดนิเนเวห์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น