อารยธรรมจีน


          ประเทศจีนเป็นประเทศที่มีอารยธรรมยาวนานที่สุดประเทศหนึ่ง โดยหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ สามารถค้นคว้าได้บ่งชี้ว่าอารยธรรมจีนมีอายุถึง 5,000 ปี รากฐานที่สำคัญของอารยธรรมจีนคือ การสร้างระบบภาษาเขียน และการพัฒนาแนวคิดลัทธิขงจื๊อ เมื่อประมาณ ศตวรรษที่ 2 ก่อน ค.ศ. ประวัติศาสตร์จีนมีทั้งช่วงที่เป็นปึกแผ่นและแตกเป็นหลายอาณาจักรสลับกันไป ในบางครั้งก็ถูกปกครองโดยชนชาติอื่น วัฒนธรรมของจีนมีอิทธิพลอย่างสูงต่อชาติอื่นๆ ในทวีปเอเชีย ซึ่งถ่ายทอดไปทั้งการอพยพ การค้า และการยึดครอง 

อารยธรรมจีนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ มีแหล่งอารยธรรมที่สำคัญ 2 แหล่ง คือ

          🐟 ลุ่มแม่น้ำฮวงโห พบความเจริญที่เรียกว่า วัฒนธรรมหยางเชา ( Yang Shao Culture ) พบหลักฐานที่เป็นเครื่องปั้นดินเผามีลักษณะสำคัญคือ เครื่องปั้นดินเผาเป็นลายเขียนสี มักเป็นลายเรขาคณิต พืช นก สัตว์ต่างๆ และพบใบหน้ามนุษย์ สีที่ใช้เป็นสีดำหรือสีม่วงเข้ม นอกจากนี้ยังมีการพิมพ์ลายหรือขูดสลักลายเป็นรูปลายจักสาน ลายเชือกทาบ

          🐟 ลุ่มน้ำแยงซ ( Yangtze ) บริเวณมณฑลชานตุงพบวัฒนธรรมหลงซาน ( Lung Shan Culture )   พบหลักฐานที่เป็นเครื่องปั้นดินเผามีลักษณะสำคัญคือ เครื่องปั้นดินเผามีเนื้อละเอียดสีดำขัดมันเงา คุณภาพดีเนื้อบางและแกร่ง เป็นภาชนะ 3 ขา  

          สมัยประวัติศาสตร์ของจีนแบ่งได้ 4 ยุค 
  • ประวัติศาสตร์สมัยโบราณ เริ่มตั้งแต่สมัยราชวงศ์ชาง สิ้นสุดสมัยราชวงศ์โจว
  • ประวัติศาสตร์สมัยจักรวรรดิ เริ่มตั้งแต่สมัยราชวงศ์จิ๋น จนถึงปลายราชวงศ์ชิงหรือเช็ง
  • ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ เริ่มปลายราชวงศ์เช็งจนถึงการปฏิวัติเข้าสู่ระบอบสังคมนิยม
  • ประวัติศาสตร์ร่วมสมัย เริ่มตั้งแต่จีนปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองเข้าสู่ระบอบสังคมนิยมหรือคอมมิวนิสต์จนถึงปัจจุบัน


อารยธรรมจีนในสมัยราชวงศ์ต่างๆ มีดังนี้

👑ราชวงศ์ชาง 
          เป็นราชวงศ์แรกของจีนมีการปกครองแบบนครรัฐ มีการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้เป็นครั้งแรก พบจารึกบนกระดองเต่า และกระดูกวัว เรื่องที่จารึกส่วนใหญ่เป็นการทำนายโชคชะตาจึงเรียกว่า “กระดูกเสี่ยงทาย” มีความเชื่อเรื่องการบูชาบรรพบุรุษ  




👑ราชวงศ์โจ
          แนวความคิดด้านการปกครอง เชื่อเรื่องกษัตริย์เป็น “โอรสแห่งสวรรค์ สวรรค์มอบอำนาจให้มาปกครองมนุษย์เรียกว่า “อาณัตแห่งสวรรค์ เริ่มต้นยุคศักดินาของจีน 

          ☼เกิดลัทธิขงจื๊อ ที่มีแนวทาง เป็นแนวคิดแบบอนุรักษ์นิยม เน้นความสัมพันธ์และการทำหน้าที่ของผู้คนในสังคม ระหว่างจักรพรรดิกับราษฎร บิดากับบุตร พี่ชายกับน้องชาย สามีกับภรรยา เพื่อนกับเพื่อน เน้นความกตัญญู เคารพผู้อาวุโส ให้ความสำคัญกับครอบครัว เน้นความสำคัญของการศึกษา



          ☼เกิดลัทธิเต๋า โดยเล่าจื๊อ ที่มีแนวทาง เน้นการดำเนินชีวิตที่เรียบง่าย ไม่ต้องมีระเบียบแบบแผนพิธีรีตองใดใด เน้นปรับตัวเข้าหาธรรมชาติ ลัทธินี้มีอิทธิพลต่อศิลปิน กวี และจิตรกรจีน คำสอนทั้งสองลัทธิเป็นที่พึ่งทางใจของผู้คน    

          ☼ลัทธิม่อจื๊อ


          ☼ลัทธิฟาเจี่ย หรือ นิติธรรมนิยม                                                           


👑ราชวงศ์จิ๋นหรือฉิน
          ราชวงศ์ฉิน (สมัยจักรวรรดิ) ฉินซีหวงตี้สามารถปราบปราม และผนวกรัฐต่างๆ เป็นจักรวรรดิ ทำการฏิรูปอารยธรรมจีน ดังนี้ ยกเลิกระบบศักดินา นำการปกครองแบบรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางมาใช้ มีเซียนหยางเป็นเมืองหลวง มีเขตการปกครองเป็นมณฑล มีการใช้เงินตราแบบเดียวกัน เครื่องชั่งตวงวัดมาตรฐานเดียวกัน เก็บภาษีที่ดิน มีการสร้างถนน อาชีพเกษตรยังคงเป็นอาชีพหลัก ประชาชนมีความเป็นอยู่อย่างลำบาก เนื่องจากถูกเกณฑ์แรงงานอย่างหนัก มีการสำรวจสำมะโนประชากร ประกาศใช้ภาษาเขียน สร้างสังคมเป็นหนึ่งเดียว สร้างพระราชวังอันใหญ่โต มีประติมากรรมลอยตัว เช่น สุสานจิ๋นซีหวงตี้ กำแพงเมืองจีน




👑ราชวงศ์ฮั่  
          เป็นยุคทองด้านการค้าของจีน มีการค้าขายกับอาณาจักรโรมัน อาหรับ และอินเดีย โดยเส้นทางการค้าที่เรียกว่า เส้นทางสายไหม ( Silk Rood )  ลัทธิขงจื๊อ คำสอนถูกนำมาใช้เป็นหลักในการปกครองประเทศ มีการสอบคัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการเรียกว่า จอหงวน


👑ราชวงศ์สุย 
          เป็นยุคแตกแยกแบ่งเป็นสามก๊ก มีการขุดคลองเชื่อมแม่น้ำฮวงโหกับแม่น้ำแยงซี เพื่อประโยชน์ในด้านการคมนาคม

👑ราชวงศ์ถั           

          ได้ชื่อว่าเป็นยุคทองของอารยธรรมจีน นครฉางอานเป็นศูนย์กลางของซีกโลกตะวันออกในสมัยนั้น พระพุทธศาสนามีความเจริญรุ่งเรือง พระภิกษุ (ถังซำจั๋ง) เดินทางไปศึกษาพระไตรปิฎก ในชมพูทวีป เป็นยุคทองของกวีนิพนธ์จีน กวีคนสำคัญ เช่น หวางเหว่ย หลี่ไป๋ ตู้ฝู้  ศิลปะแขนงต่างๆมีความรุ่งเรือง



👑ราชวงศ์ซ้อง 
          มีความก้าวหน้าด้านการเดินเรือสำเภา รู้จักการใช้เข็มทิศ รู้จักการใช้ลูกคิด ประดิษฐ์แท่นพิมพ์หนังสือ รักษาโรคด้วยการฝังเข็ม 


👑าชวงศ์หยวน 
          เป็นราชวงศ์ชาวมองโกลที่เข้ามาปกครองจีน ฮ่องเต้องค์แรกคือ   กุบไลข่าน หรือ หงวนสีโจ๊วฮ่องเต้ ชาวตะวันตกเข้ามาติดต่อค้าขายมาก เช่น มาร์โคโปโล พ่อค้าชาวเมืองเวนีส อิตาลี        
              

👑ราชวงศ์หมิงหรือเหม็ง
          วรรณกรรม นิยมการเขียนนวนิยายที่ใช้ภาษาพูดมากกว่าการใช้ภาษาเขียน มีนวนิยายที่สำคัญ ได้แก่ สามก๊ก ไซอิ๋ว ส่งเสริมการสำรวจเส้นทางเดินเรือทางทะเล สร้างพระราชวังหลวงปักกิ่ง (วังต้องห้าม)

👑ราชวงศ์ชิงหรือเช็ง 
          เป็นราชวงศ์เผ่าแมนจู เป็นยุคที่จีนเสื่อมถอยความเจริญทุกด้าน เริ่มถูกรุกรานจากชาติตะวันตก เช่น สงครามฝิ่น ซึ่ง      จีนรบแพ้อังกฤษ ทำให้ต้องลงนามในสนธิสัญญานานกิง ปลายยุคราชวงศ์ชิง พระนางซูสีไทเฮาเข้ามามีอิทธิพลในการบริหารประเทศมาก

🌐จีนยุคสาธารณรัฐและยุคคอมมิวนิสต์ปลายยุคราชวงศ์ชิง🌐
          ดร.ซุนยัตเซ็น จัดตั้งสมาคมสันนิบาต เพื่อล้มล้างราชวงศ์ชิง โดยประกาศ ลัทธิไตรราษฎร์ ประกอบด้วย

          1.หลักเอกราช

          2.หลักแห่งอำนาจอธิปไตยของประชาชน

          3.หลักความยุติธรรมในการครองชีพ ส่วนนโยบายปฏิวัติ คือ โค่นล้มราชวงศ์แมนจู และจัดตั้งรัฐบาลประชาชน จัดตั้งรัฐบาลตามระบอบสาธารณรัฐ จัดสรรที่ดินให้แก่ประชาชน และก่อตั้งพรรคชาตินิยม หรือ พรรคก๊กมินตั๋ง ขึ้นในที่สุด  ต่อมา ซุนยัตเซ็นได้ร่วมมือกับ ยวน ซีไข ทำการปฏิวัติล้มราชวงศ์ชิงได้สำเร็จเปลี่ยนการปกครองเข้าสู่ระบอบสาธารณรัฐ (จักรพรรดิปูยี เป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของจีน) มีการแย่งชิงอำนาจของผู้นำทางทหารเรียกว่า ยุคขุนศึก ซุนยัตเซ็นได้เสนอให้ ยวน ซีไข เป็นประธานาธิบดีของสาธารณรัฐจีน ยวน ซีไข คิดสถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดิและรื้อฟื้นระบบศักดินา ดร.ซุนยัตเซ็น ตั้งพรรคก๊กมินตั๋ง เมื่อ ยวน ซีไข เสียชีวิตลง ดร.ซุนยัตเซ็นเป็นประธานาธิบดี แต่เป็นได้ไม่นานก็เสียชีวิต หลังจาก ดร. ซุนยัตเซ็น เสียชีวิต เจียงไคเช็ค ขึ้นเป็นผู้นำพรรคก๊กมินตั๋งและผู้นำจีน แต่รัฐบาลเจียงไคเช็ค ประสบปัญหาฉ้อราษฎร์บังหลวง กดขี่ราษฎร จีนเกิดกาปฏิวัติอีกครั้ง โดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน ภายใต้การนำของ เหมา เจ๋อตุง รัฐบาลเจียงไคเช็ค ต่อสู้กับพรรคคอมมิวนิสต์แต่แพ้ เหมา เจ๋อตุง สถาปนา “สาธารณรัฐประชาชนจีน” ปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ มีการจัดระเบียบสังคมใหม่ เรียกว่า การปฏิวัติทางวัฒนธรรม เพื่อต่อต้านจารีตศักดินาแบ่งชนชั้น หลังจาก เหมา เจ๋อตุง เสียชีวิต เติ้งเสี่ยวผิงขึ้นเป็นผู้นำจีนแทน ประกาศพัฒนาประเทศด้วย นโยบายสี่ทันสมัย คือด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม การทหาร วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยอนุญาตให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนภายในประเทศ รวมทั้งผ่อนปรนวิถีการดำเนินชีวิตของประชาชนให้คลายความเข้มงวดลง 

ความเจริญของอารยธรรมจีน

🎨จิตรกรร

          มีวิวัฒนาการมาจากการเขียนตัวอักษรจีนจารึกบนกระดูกเสี่ยงทายเพราะตัวอักษรจีนมีลักษณะเหมือนรูปภาพ งานจิตรกรรมจีนรุ่งเรืองมากในสมัยราชวงศ์ฮั่น มีการเขียนภาพและแกะสลักบนแผ่นหิน ที่นิยมมากคือ การเขียนภาพบนผ้าไหม ภาพวาดเป็นเรื่องเล่าในตำราขงจื๊อพระพุทธศาสนาและภาพธรรมชาติ สมัยราชวงศ์ถัง มีการพัฒนาการใช้พู่กันสีและกระดาษภาพส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนาและลัทธิเต๋า สมัยราชวงศ์ซ้อง จิตรกรรมจัดว่าเด่นมาก ภาพวาดมักเป็นภาพมนุษย์กับธรรมชาติ ทิวทัศน์ ดอกไม้       

🚀ประติมากรรม


          ส่วนใหญ่เป็นเครื่องปั้นดินเผามีอายุเก่าแก่ตั้งแต่ก่อนประวัติศาสตร์ ทำจากดินสีแดง มีลวดลาย แดง ดำ และขาวเป็นลวดลายเรขาคณิต สมัยราชวงศ์ชาง มีการแกะสลักงาช้าง หินอ่อน และหยกตามความเชื่อและความนิยมของชาวจีน ที่เชื่อว่า หยก ทำให้เกิดความเป็นสิริมงคล ความสุขสงบ ความรอบรู้ ความกล้าหาญ ภาชนะสำริดเป็นหม้อสามขา สมัยราชวงศ์ถัง มีการพัฒนาเครื่องเคลือบดินเผาเป็นเคลือบ 3 สีคือ เหลือง น้ำเงิน เขียว ส่วนสีเขียวไข่กามีชื่อเสียงมากในสมัยราชวงศ์ซ้อง ส่วนพระพุทธรูปนิยมสร้างในสมัยราชวงศ์ถัง ทั้งงานหล่อสำริดและแกะสลักจากหิน ซึ่งมีสัดส่วนงดงาม เป็นการผสมผสานระหว่างศิลปะอินเดียและจีนที่มีลักษณะเป็นมนุษย์มากกว่าเทพเจ้า นอกจากนี้มีการปั้นรูปพระโพธิสัตว์กวนอิม สมัยราชวงศ์เหม็ง เครื่องเคลือบได้พัฒนาจนกลายเป็นสินค้าออก คือ เครื่องลายครามและลายสีแดง ถึงราชวงศ์ชิง เครื่องเคลือบจะนิยมสีสันสดใส เช่น เขียว แดง ชมพู



🌃สถาปัตยกรร

  • กำแพงเมืองจีน สร้างในสมัยราชวงศ์จิ๋น เพื่อป้องกันการรุกรานของมองโกล 
  • เมืองปักกิ่ง สร้างในสมัยราชวงศ์หงวน โดยกุบไลข่าน ซึ่งได้รับการยกย่องทางด้านการวางผังเมือง ส่วนพระราชวังปักกิ่งสร้างในสมัยราชวงศ์เหม็ง 
  • พระราชวังฤดูร้อน สร้างในสมัยราชวงศ์เช็ง โดยพระนางซูสีไทเฮา ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานระหว่างยุโรปและจีนโบราณ


🕮วรรณกรรม

  • สามก๊ก สันนิษฐานว่าเขียนในคริสต์ศตวรรษที่ 14 เป็นเรื่องราวของความแตกแยกในจีนตั้งแต่ปลายสมัยราชวงศจิ๋นจนถึงราชวงศ์ฮั่น
  • ซ้องกั๋ง เป็นเรื่องประท้วงสังคม เรื่องราวความทุกข์ของผู้คนในมือชนชั้นผู้ปกครอง สะท้อนความทุกข์ของชาวจีนภายใต้การปกครองของพวกมองโกล
  • ไซอิ๋ว เป็นเรื่องราวการเดินทางไปนำพระสูตรจากสวรรค์ทางตะวันตกมายังประเทศจีน
  • จินผิงเหมย หรือดอกบัวทอง แต่งขึ้นในราวคริสต์ศตวรรษที่ 16-17 เป็นนิยายเกี่ยวกับสังคมและชีวิตครอบครัว เป็นเรื่องของชีวิตที่ร่ำรวย มีอำนาจขึ้นมาด้วยเล่ห์เหลี่ยม แต่ด้วยการทำชั่วและผิดศีลธรรมในที่สุดต้องด้รับกรรม
  • หงโหลวเมิ่ง หรือ ความฝันในหอแดง เด่นที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 18 เรื่องราวเต็มไปด้วยการแก่งแย่งชิงดี อิจฉาริษยากัน ผู้อ่านจะรู้สึกเศร้าสลดต่อชะตาชีวิตของพระเอกนางเอกเนื้อเรื่องสะท้อนให้ เห็นสังคมศักดินาของจีนที่กำลังเสื่อมโทรมก่อนการเปลี่ยนแปลงสังคมเข้าสู่ ยุคใหม่
  • บันทึกประวัติศาสตร์ ของ สื่อหม่าเฉียน

การถ่ายทอดอารยธรรมจีนสู่ดินแดนต่างๆ

อารยธรรมจีนแผ่ขยายขอบข่ายออกไปอย่างกว้างขวางทั้งในเอเชียและยุโรป อันเป็นผลมาจากการติดต่อทางการทูต การค้า การศึกษา ตลอดจนการเผยแผ่ศาสนา อย่างไรก็ตามลักษณะการถ่ายทอดแตกต่างกันออกไป ดินแดนที่เคยตกอยู่ภายใต้การปกครองของจีนเป็นเวลานาน เช่น เกาหลี และเวียดนาม จะได้รับอารยธรรมจีนอย่างสมบูรณ์ ทั้งในด้านวัฒนธรรม การเมือง ขนบธรรมเนียมประเพณี การสร้างสรรค์ และการแสดงออกทางศิลปะ ทั้งนี้เพราะราชสำนักจีนจะเป็นผู้กำหนดนโยบายและบังคับให้ประเทศทั้งสองรับวัฒนธรรมจีนโดยตรง

ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อารยธรรมจีนได้รับการยอมรับในขอบเขตจำกัดมาก ที่เห็นอย่างชัดเจนคือ การยอมรับระบบบรรณาการของจีนในเอเชียใต้ ประเทศที่แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับจีนอย่างใกล้ชิด คือ อินเดีย พระพุทธศาสนามหายานของอินเดียแพร่หลายเข้ามาในจีนจนกระทั่งเป็นศาสนาสำคัญที่ชาวจีนนับถือ นอกจากนี้ศิลปะอินเดียยังมีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ศิลปะบางอย่างของจีน เช่น ประติมากรรมที่เป็นพระพุทธรูป ส่วนภูมิภาคเอเชียกลางและตะวันออกกลางนั้น เนื่องจากบริเวณที่เส้นทางการค้าสานแพรไหมผ่านจึงทำหน้าที่เป็นสื่อกลางนำอารยธรรมตะวันตกและจีนมาพบกัน อารยธรรมจีนที่เผยแพร่ไป เช่น การแพทย์ การเลี้ยงไหม กระดาษ การพิมพ์ และดินปืน เป็นต้น ซึ่งชาวอาหรับจะนำไปเผยแพร่แก่ชาวยุโรปอีกต่อหนึ่ง 



🌙พัฒนาการอารยธรรมจีนด้านการเมืองการปกครอง มีการเปลี่ยนแปลงตามลำดับดังนี้🌙       

1. ระบบกษัตริย์ เชื่อว่าจักรพรรดิเป็น “ โอรสแห่งสวรรค์ ” มีอำนาจเด็ดขาด แต่พระมหากษัตริย์ที่ไม่อาจปกครองให้เกิดความสงบสุข เที่ยงธรรม ก็อาจมีการยึด อำนาจเปลี่ยนผู้ปกครองได้
         

2. ระบบศักดินาเริ่มต้นใน “ ราชวงศ์โจว ” จักรพรรดิเป็นโอรสแห่งสวรรค์ แต่ตอบแทนขุนนางด้วยการมอบที่ดินให้แต่ขุนนางต้องนำผลผลิตมาถวายกษัตริย์ และช่วยเหลือเมื่อเกิดสงคราม
          

3. สมัยจักรวรรดิเริ่มต้นใน “ ราชวงศ์ฉิน ” จิ๋นซีฮ่องเต้ ทรงรวบรวมจีนเป็นจักรวรรดิมีอำนาจเด็ดขาดควบคุมดูแลดินแดนโดยตรง แต่ปกครองด้วยการยึดหลักกฎหมาย
          

4. ระบบสาธารณรัฐชาติตะวันตกต้องการขยายอิทธิพลในจีน ทำให้เกิด ความกดดันการเมืองภายในการเกิดสงครามฝิ่น ระหว่างจีนกับอังกฤษ จีนแพ้ต้องทำ “ สนธิสัญญานานกิง ” จีนต้องเปิดเมืองท่าให้ชาวต่างชาติเข้าอยู่อาศัยและทำการค้า จีนต้องยอมยกเกาะฮ่องกงให้อังกฤษทำการเช่า และยังเกิดปัญหามากมาย ดร.ซุนยัตเซ็น ก่อการปฏิวัติล้มล้างราชวงศ์แมนจู จัดตั้ง ระบอบการปกครองแบบสาธารณรัฐ โดยให้ ยวน ซีไข ขึ้นเป็นประธานาธิบดี ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงเป็นระบอบคอมมิวนิสต์ โดย เหมา เจ๋อ ตุง ใช้นโยบาย “ ก้าวกระโดดไกล” ผู้นำคนต่อมาคือ เติ้ง เสี่ยว ผิง ใช้นโยบายพัฒนาประเทศ ที่เรียกว่า “ นโยบายสี่ทันสมัย ” ซึ่งจีนได้เปิดเสรีทางเศรษฐกิจมากขึ้น         

 💸ด้านเศรษฐกิจ         

1. พื้นฐานเศรษฐกิจจีนโบราณ เป็นเกษตรกรรม
        
2. สมัยราชวงศ์ฮั่น เริ่มมีการติดต่อค้าขายกับชาติตะวันตก ทำให้เกิด “ เส้นทางสายไหม ” ซึ่งเป็นเส้นทางการค้าจากจีน ไปอินเดีย อียิปต์ และโรม

3. คริสต์ศตวรรษที่ 19 เหมา เจ๋อ ตุง ใช้นโยบาย “ ก้าวกระโดดไกล ” แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ

4. ยุค เติ้ง เสี่ยว ผิง ใช้นโยบาย “ สี่ทันสมัย ” คือ ด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม การทหาร วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยอนุญาตให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนภายใน ประเทศ มีลักษณะผ่อนปรนมากขึ้นทำให้จีนเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว        

🎉ด้านสังคมวัฒนธรรม         

1.สังคมจีน ประกอบด้วยกลุ่มบุคคลแยกเป็นชนชั้น ดังนี้         

          * ชนชั้นขุนนาง ปัญญาชน เป็นกลุ่มผู้มาจากการสอบผ่านเข้ารับราชการเพื่อให้ได้ผู้มีความรู้และมีคุณธรรมเมื่อผู้ใดได้เป็นขุนนาง จะได้รับสิทธิยกเว้นการเกณฑ์แรงงาน ยกเว้นภาษี มีชีวิตสะดวกสบาย
         

          * ชนชั้นชาวนา มีจำนวนมากกว่าชนชั้นอื่นสังคมจีนเป็นสังคมเกษตรกรรม สมัยราชวงศ์โจว ชนชั้นชาวนาได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ผลิต แต่กลับถูกเรียกเก็บภาษี ถูกเกณฑ์แรงงานและเกณฑ์ทหาร
         

          * ชนชั้นพ่อค้าและทหารตามความคิดของขงจื๊อชนชั้นนี้ไม่น่ายกย่องเพราะมิใช่เป็นผู้ผลิต แต่พ่อค้า เป็นกลุ่มที่ร่ำรวย และการทำสงครามระหว่างเจ้าผู้ครองนคร ในสมัยราชวงศ์โจวทำให้ทหารมีความสำคัญในการป้องกันสังคมให้ปลอดภัย

2. ครอบครัวจีน          สังคมจีนยุคแรกสร้างอารยธรรม ถือว่าครอบครัวเป็นหน่วยทางสังคมที่เล็กที่สุด ผู้นำครอบครัว คือ บิดา ผู้นำครอบครัวเป็นผู้รับผิดชอบต่อการดำรงชีวิตของครอบครัว และรับผิดชอบต่อราชการ เช่นการเกณฑ์ทหาร การเสียภาษี คนในครอบครัวจึงต้องให้ความเคารพยำเกรงผู้นำครอบครัว นอกจากนี้คนในครอบครัวผู้น้อยต้องเคารพผู้อาวุโส        

3. ประเพณีและความเชื่อ คนจีนแต่โบราณจะเคารพบูชาบรรพบุรุษซึ่งเป็นคนในตระกูลที่เสียชีวิตไปแล้ว นอกจากนี้ยังนับถือเทพเจ้าธรรมชาติ ในสมัยราชวงศ์ชาง มีประเพณีการใช้ “ กระดูกเสี่ยงทาย ” โดยการเขียนตัวอักษรบนกระดูกวัวหรือสัตว์ชนิดอื่น หรือบนกระดองเต่า เพื่อทำนายเกี่ยวกับการสร้างเมือง การสงคราม และเรื่องอื่น ๆขงจื๊อ ได้วางหลักปฏิบัติต่อครอบครัว พิธีกรรม ปรัชญาและจริยศาสตร์ เช่น การใฝ่หาความรู้ ความกตัญญู ความจงรักภักดี คุณธรรมเหล่านี้มีอิทธิพลต่อชาวจีนอย่างลึกซึ้ง          

4. ศิลปะและหัตถกรรม  ภาชนะสำริดที่เก่าแก่ที่สุด พบในสมัยราชวงศ์ชาง ตอนปลายของราชวงศ์ชาง ถือว่าเป็นยุคทองของเครื่องสำริด
ช่างจีน มีฝีมือในการแกะสลักหยก         

5. ภาษาและวรรณกรรม     การพบกระดูกเสี่ยงทายที่มีตัวอักษรจารึก ทำให้ทราบว่าในสมัยราชวงศ์ชางมีภาษาเขียนใช้แล้ว เรียกว่าอักษรภาพ วรรณกรรมที่สำคัญ ได้แก่ คัมภีร์ทั้ง 5 ของขงจื๊อ วรรณกรรมที่สำคัญอีกเล่มคือ สื่อจี้ (บันทึกประวัติศาสตร์) บันทึกโดยสื่อหม่าเฉียน ในสมัยราชวงศ์ฮั่น


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น