อารยธรรมอะมอไรต์


อะมอไรต์


          เป็นชนเผ่าเซมิติคอีกพวกหนึ่งที่อพยพมาจากทะเลทรายอาราเบีย โดยได้ยกกำลังเข้ายึดครองนครรัฐของชาวสุเมเรียนและขยายดินแดนออกไปอย่างกว้างขวางเมื่อประมาณ 1750 ก่อนคริสตกาล โดยมีผู้นำที่เข้มแข็งทรงพระนามว่า ฮัมมูราบี (Hammurabi)

          จักพรรดิฮัมมูราบีทรงเป็นนักปกครองและนักบริหารที่ยอดเยี่ยมได้ทรงคิดค้นเครื่องมือที่จะช่วยสร้างความเป็นระเบียบและความยุติธรรมให้แก่ดินแดนทั่วทั้งจักวรรดิ เครื่องมือดังกล่าวนั้น คือกฏหมายที่เขียนเป็นลายลักอักษร วึ่งประมวลขึ้นจากจารีตประเพณีของพวกสุเมเรียนเดิมตลอดจนธรรมเนียมปฏิบัติของชนเผ่าเซมิติค เรียกว่า ประมวลกฏหมายฮัมบูราบี (the Code of Hammurabi) มีข้อบัญญัติต่างๆ รวมทั้งสิ้นเกือบ 300 ข้อ จารึกอยู่บนแท่งหินสีดำสูงประมาณ 8 ฟุต จารึกด้วยตัวอักษรคิวนิฟอร์ม ประมวลกฏหมายนี้ใช้หลักความคิดแบบแก้แค้นและตอบโต้อย่างตรงไปตรงมาที่เรียกว่า “ตาต่อตาฟันต่อฟัน” นอกจากนี้ยังว่าด้วยเรื่องต่างๆ ในการปฏิบัติต่อกันของคนในสังคม เช่น เรื่องการค้าขายและประกอบอาชีพ เรื่องทรัพย์สินที่ดิน เรื่องการกินอยู่ระหว่างสามีภรรยาและการหย่าร้าง เป็นต้น ประมวลกฏหมายฉบับนี้นับว่าเป็นหลักฐานทางวัฒนธรรมของมนุษย์ในความพยายามที่จะจัดระเบียบภายในสังคมที่มีคนเข้ามาอยู่รวมกันแล้ว นำระเบียบดังกล่าวเขียนลงไว้อย่างชัดเจน ประมวลกฏหมายฮัมมูราบีจึงเป็นประมวลกฏหมายที่เก่าแก่ที่สุดซึ่งเหลือตกค้างมาจนถึงสมัยปัจจุบัน

ซึ่งต่อมาได้สถาปนาจักวรรดิบาบิโรเนียขึ้น โดยมีนครบาบิโลน (Babylon) เป็นศูนย์กลางของจักวรรดิ

          จักพรรดิฮัมมูราบีทรงเป็นนักปกครองและนักบริหารที่ยอดเยี่ยมได้ทรงคิดค้นเครื่องมือที่จะช่วยสร้างความเป็นระเบียบและความยุติธรรมให้แก่ดินแดนทั่วทั้งจักวรรดิ เครื่องมือดังกล่าวนั้น คือกฏหมายที่เขียนเป็นลายลักอักษร วึ่งประมวลขึ้นจากจารีตประเพณีของพวกสุเมเรียนเดิมตลอดจนธรรมเนียมปฏิบัติของชนเผ่าเซมิติค เรียกว่า ประมวลกฏหมายฮัมบูราบี (the Code of Hammurabi) มีข้อบัญญัติต่างๆ รวมทั้งสิ้นเกือบ 300 ข้อ จารึกอยู่บนแท่งหินสีดำสูงประมาณ 8 ฟุต จารึกด้วยตัวอักษรคิวนิฟอร์ม ประมวลกฏหมายนี้ใช้หลักความคิดแบบแก้แค้นและตอบโต้อย่างตรงไปตรงมาที่เรียกว่า “ตาต่อตาฟันต่อฟัน” นอกจากนี้ยังว่าด้วยเรื่องต่างๆ ในการปฏิบัติต่อกันของคนในสังคม เช่น เรื่องการค้าขายและประกอบอาชีพ เรื่องทรัพย์สินที่ดิน เรื่องการกินอยู่ระหว่างสามีภรรยาและการหย่าร้าง เป็นต้น ประมวลกฏหมายฉบับนี้นับว่าเป็นหลักฐานทางวัฒนธรรมของมนุษย์ในความพยายามที่จะจัดระเบียบภายในสังคมที่มีคนเข้ามาอยู่รวมกันแล้ว นำระเบียบดังกล่าวเขียนลงไว้อย่างชัดเจน ประมวลกฏหมายฮัมมูราบีจึงเป็นประมวลกฏหมายที่เก่าแก่ที่สุดซึ่งเหลือตกค้างมาจนถึงสมัยปัจจุบัน



พระเจ้าฮัมมูราบี


💬ประมวลกฎหมายของฮัมมูราบ

          การร่างประมวลกฎหมาย (Hammurabi Code)  พระเจ้าฮัมมูราบีทรงเป็นที่รู้จักในฐานะเป็น ผู้สร้างประมวลกฎหมายเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ สังคม และจริยธรรมแห่งชีวิต ทรงกล่าวถึงวัตถุประสงค์ในการจัดทำประมวลกฎหมายว่า “เพื่อผดุงความยุติธรรมให้คงอยู่ในแผ่นดิน ทำลายคนชั่วและคนร้าย ป้องกันคนแข็งแรงข่มเหงคนที่อ่อนแอกว่า...และเพื่อพัฒนาสวัสดิการสำหรับประชาชน”



          ประมวลกฎหมายนี้จารึกอยู่บนแผ่นดินไดโดไรท์สีดำ ขนาดสูง 8 ฟุต จารึกด้วยอักษร Cuniform ประมวลกฎหมายนี้ประดิษฐ์ไว้ในวิหารของเทพมาร์คุด (marduk) ซึ่งเป็นเทพสูงสุดของบาบิโลน ต่อมาทีมนักโบราณคดีฝรั่งเศสขุดพบที่ ประเทศอิรัก ในช่วงฤดูหนาวปี 1901 ถึง 1902 หินสลักนี้แตกเป็น 3 ชิ้น และได้รับการบูรณะ ตอนบนของแผ่นหินมีรูปแกะสลักภาพเทพเจ้ากำลังประทาน ประมวลกฎหมายให้แก่ ฮัมมูราบี ปัจจุบัน ประมวลกฎหมายฮัมมูราบีอยู่ในพิพิธภัณฑ์ลูฟร์ กรุงปารีส แผ่นหินนี้นับเป็นโบราณวัตถุที่มีค่ายิ่งในทางประวัติศาสตร์ เพราะข้อความในประมวลกฎหมายสะท้อนให้เห็นถึงสภาพของสังคมBabylonia ในสมัยนั้นเป็นอย่างดี ทำให้เราทราบว่า Babylonia ประกอบขึ้นด้วยคนชั้นต่างๆ คือ กรรมกรและทาส
  
💬กฎหมายของฮัมมูราบ



กฎหมายฮัมมูราบี

          1.คล้ายกฎหมายของพวกสุเมเรียน คือ อาศัยหลัก Lex talionis คือ ใช้ลัทธิสนองตอบ คือ “ตาต่อตา ฟันต่อฟัน” (An eye for an eye , a tooth for a tooth)

          2.มีความเปลี่ยนแปลงไปจากกฎหมายของพวกสุเมเรียน คือ การให้ความยุติธรรมนั้นต้องเป็นหน้าที่ของรัฐ (การให้ความยุติธรรมในสมัยแรกเริ่มนั้นเป็นหน้าที่ของบุคคล)

          3.ให้สิทธิแก่สตรี สตรีมีสิทธิฟ้องสามีได้

          4.การค้าขายจะต้องได้พระบรมราชานุญาต จำกัดกำไรให้เพียง 20%

          5.กำหนดเวลาการตกเป็นทาสหนี้สินเพียง 3 ปี

          ทั้งนี้เป็นเพราะนอกจากจะทรงสามารถในการรบและการปกครองเป็นผลให้ จักรวรรดิขยายกว้างใหญ่ไพศาล ฮัมมูราบีปรับปรุงอารยธรรมสุเมเรียนให้ดีขึ้น และในที่สุดจักรวรรดิ บาบิโลนก็ได้เริ่มเสื่อมลงเป็นลำดับภายหลังการสิ้นพระชนม์ของฮัมมูราบีเพราะ

          1.กษัตริย์ผู้สืบทอดต่อมาไร้ความสามารถในการปกครองและการรบ เป็นผลให้กลุ่มชนภายใต้ การปกครองของอะมอไรท์ดำเนินการแยกตนเป็นอิสระ

          2.ประมาณปี 1590 ก่อนคริสตกาล ฮิตไตท์ชนชาตินักรบจากเอเซียไมเนอร์ เข้ารุกรานมุ่งยึด กรุงบาบิโลนแต่ไม่สำเร็จ

          3.การก่อกวนของเฮอเรีย (Hurrians) แห่งอาณาจักรมิทานมิ (Mitanni) อาณาจักรนี้ตั้งอยู่ ทางตอนเหนือของลุ่มแม่น้ำยูเฟรตีส


          4.งบประมาณปลายศตวรรษที่ 16 ก่อนคริตกาล คัสไซส์ (Kassites) อนารยชนจากเทือกเขา ใกล้ดินแดนเปอร์เซียตะวันตกเข้ารุกรานและโค่นอำนาจอะมอไรท์ได้สำเร็จ

          จักวรรดิบาบิโลเนียนได้เจริญรุ่งเรืองอย่างมากในสมัยจักวรรดิฮัมมูราบี แต่หลังสมัยของพระองค์อาณาจักรที่เป็นปึกแผ่นอยู่เป็นเวลาเกือบหกร้อยปีค่อยๆเสื่อมลงจนในที่สุดถูกพวกชาวแคสไซต์ (Kassites) เข้ามายึดครอง ชาวแคสไซต์เป็นพวกอารยชนซึ่งไม่มีความสนใจในวัฒธรรมใดๆทั้งสิ้น วัฒนธรรมเก่าแก่ของดินแดนแถบนี้เกือบจะต้องสลายไปอย่างสิ้นเชิง ถ้าไม่มีชนเผ่าเซมิติคอีกพวกหนึ่งที่ตั้งถิ่นฐานในบริเวณภาคเหนือบนลุ่มแม่น้ำไทกริส และชนกลุ่มนี้ได้มีการขยายอิทธิพลเรื่อยๆ จนสามารถพิชิตพวกแคสไซต์ได้ ชนเผ่าเซมิติคดังกล่าวนี้คือชาวอัสซีเรียน  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น