อารยธรรมฟินิเซียน


ฟินีเซียน

          ชาวฟินีเชียนเป็นชนเผ่าเซเมติกเผ่าหนึ่ง มีชื่อเรียกดั้งเดิมว่า พวกแคนาไนต์ (Canaanites) อาศัยอยู่ในบริเวณดินแดนแคนาน (Cannaan) บริเวณแถบซีเรีย ปาเลสไตน์ โดยรับอารยธรรมเมโสโปเตเมียและอียิปต์ ในระหว่าง 1,300 – 1,000 ปีก่อนคริสตกาล ได้ถูกพวกอิสราเอลไลต์ (Israelites) และฟิลิสตินส์ (Philistines) เข้ารุกรานต้องสูญเสียดินแดนเกือบทั้งหมดยกเว้านบริเวณแถบชายฝั่งทะเลแคบ ๆ ริมฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ที่เรียกว่าฟินีเซียนเท่านั้น หลังจากนั้นเป็นตันมาพวกแคนาไนต์ก็มีชื่อเรียกใหม่ว่า ฟีนีเชียน


          พวกฟินิเชียนได้ชื่อว่าเป็นชนชาติที่ชำนาญการเดินเรือมากที่สุดพวกหนึ่งในยุคโบราณ พวกเขากุมเส้นทางการค้าตามชายฝั่งของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน  และมีเมืองท่าขนาดใหญ่ เช่นเมืองไทร์ (Tyre) เมืองไซดอน (Sidon)  เมืองบีบลอส (Byblos)ชาวฟีนีเชียนรับสินค้าอินเดียและตะวันออกไกลจากเมโสโปเตเมียไปขายยังอียิปต์ เอเชียไมเนอร์เอฟริกาเหนือและชายฝั่งตะวันตกของทวีปยุโรป เดินทางผ่านช่องแคบจิบรอลตาร์ (Gibraltar) เข้าสู่มหาสมุทรแอตแลนติก เป็นพวกแรก พ่อค้าฟีนีเชียนยังนำเรือสินค้าไปค้าขายกับเกาะอังกฤษ สร้างสถานีการค้าและมีอาณานิคมของพวกตนจนถึงแถวสเปนเพื่อแสวงหาแร่เงินและ ดีบุก และได้นำเอาอารยธรรมตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียนไปเผยแพร่ทางตะวันตก จัดตั้งอาณาจักรบนเกาชิชิลี และชายฝั่งทางตอนเหนือของแอฟริกา ได้แก่ เมืองคาร์เทจ (Carthage) อีกด้วย




📢อักษรฟินิเชี


          อักษรฟินิเชีย พัฒนามาจากอักษรคานาอันไนต์ยุคแรกเริ่ม ซึ่งปรากฏครั้งแรกราว 1,800-1,700 ปีก่อนคริสต์ศักราช จารึกเก่าสุดมาจากไบบลอส อายุราว 1,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช มีอักษร 22 ตัว ไม่มีเครื่องหมายสระ ชื่อตัวอักษรเหมือนที่ใช้เรียกอักษรฮีบรูตัวอักษรมีลักษณะเป็นอักษรอัลฟาเบต (Alphabet) ซึ่งสะดวกในการบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ บัญชีการค้า อักษรอัลฟาเบตของฟีนีเซียนเป็นที่นิยมแพร่หลายทั่วไป และชาติต่าง ๆ ได้นำไปดัดแปลงเป็นตัวหนังสือของตน เช่น ในภาษากรีก และละติน



📢ภาษาฟินิเชี

          ภาษาฟินิเชีย เป็นภาษาที่มีจุดกำเนิดในชายฝั่งที่เรียก "Pūt" ในภาษาอียิปต์โบราณ "คานาอัน" ในภาษาฟินิเชีย ภาษาฮีบรูและภาษาอราเมอิก และเรียก "ฟินิเชีย"ในภาษากรีกและภาษาละติน เป็นภาษากลุ่มเซมิติกสาขาคานาอัน ใกล้เคียงกับภาษาฮีบรูและภาษาอราเมอิก บริเวณดังกล่าวปัจจุบันอยู่ในเลบานอนและซีเรีย และอิสราเอลทางตอนเหนือ เป็นที่รู้จักจากจารึกต่างๆในไบบลอสและหนังสือที่เขียนด้วยภาษาต่างๆ

          จารึกภาษาฟินิเชียเก่าสุดพบในไบบลอส อายุราว 457 ปีก่อนพุทธศักราช ซึ่งพบทั้งใน เลบานอน ซีเรีย อิสราเอล ไซปรัส เกาะซิซิลีตูนีเซีย โมร็อกโก แอลจีเรีย มอลตา และที่อื่นๆในคาบสมุทรไอบีเรีย การถอดความภาษาฟินิเชียใช้ความรู้ภาษาฮีบรูเป็นพื้นฐาน

          การจำแนกสำเนียงต่างๆของภาษาฟินิเชียทำได้ยากเพราะการเขียนไม่แสดง เครื่องหมายสระ เครื่องหมายสระเริ่มปรากฏในยุคท้ายๆ ก่อนจะเปลี่ยนมาเขียนด้วยอักษรที่มีพื้นฐานคล้ายอักษรกรีกหรืออักษรละติน ความคล้ายคลึงระหว่างภาษาฟินิเชียกับภาษาใกล้เคียงคือมีการยกเสียงสระสูง ขึ้น เช่น ā เป็น ū (และภาษาฮีบรู ō) , เช่น rūs "หัว" (ภาษาฮีบรู ראש rôš) การยกเสียงสระนี้พบในภาษาอียิปต์โบราณด้วย โดยมีหลักฐานจากภาษาคอปติก

          ในด้านไวยากรณ์ ภาษาฟินิเชียยังมีการลงท้ายการก คำศัพท์บางคำต่างไปเช่นมีคำกริยา KN "เป็น อยู่ คือ" (เช่นเดียวกับภาษาอาหรับ) และ P‘L "ทำ” และใช้ bal "ไม่" (ภาษาอราเมอิก/ฮีบรู lō < *lā‘)

          ภาษาฟินิเชีย เคยใช้พูดใน เลบานอนตูนีเซียทางใต้ของ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน คาบสมุทรไอบีเรียมอลตาทางใต้ของฝรั่งเศสไซปรัสเกาะซิซิลีและตามแนวชายฝั่งและเกาะในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ปัจจุบันได้สูยหายไปเพราะถูกพัฒนาไปเป็นภาษาปูนิก เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 12






📢ศาสนาของชาวฟินิเชีย


          ศาสนาของชนเผ่าฟินิเชียนมีส่วนสำคัญในชีวิตของเขามาก ศาสนานี้นับถือเทพเจ้ามาก แต่ละองค์มีนามทั่วไปว่า บาอัล (Baal) เหมือนกันหมด พิธีกรรมของศาสนานี้มีการฆ่ามนุษย์บูชายัญและการสังเวยเทพเจ้าด้วยกาม ความจริงพิธีกรรมแบบหลังนี้มิใช่มีแต่ของชาวฟินิเชียนเท่านั้น แม้ในศาสนาที่ตายแล้วอื่นๆ เช่น ของอียิปต์ ของกรีก และแม้ศาสนาฮินดูบางสาขา ซึ่งเป็นศาสนาที่มีผู้นับถืออยู่ในปัจจุบันก็มีพิธีกรรมทำนองนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น