ประวัติของแบรนด์Dior
คริสเตียน ดิออร์ เกิดเมื่อวันที่ 21 มกราคม ปี 1905 ณ เมืองกร็องวิลล์ ภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศฝรั่งเศส สองสามีภรรยานามว่า เมเดอลีน และ มอริส ดิออร์ วัยเด็กของเขาคริสเตียนเป็นเด็กชายผู้เรียบร้อย และละเอียดอ่อน งานอดิเรกก็เห็นจะเป็นการชื่นชอบออกแบบและตกแต่งบ้าน เมื่อโตขึ้นมาจิตวิญญาณของศิลปินที่ไหลเวียนอยู่ในกระแสเลือดของเขาอย่างเต็มเปี่ยม ก็เริ่มแสดงให้หลายคนได้ประจักษ์ เมื่อความชื่นชอบของเขายังไปเกี่ยวข้องกับ ศิลปะการเต้นบัลเลต์และงานจิตรกรรม อีกทั้งคนยังรู้จักคริสเตียนในฐานะของนักออกแบบเสื้อผ้าให้กับคนในครอบครัว กระทั่งเมื่อคริสเตียน ก้าวเท้าเข้าสู่ช่วงเวลาวัยรุ่น เขาคือคนที่คลั่งไคล้กับชีวิตในแวดวงผู้เชี่ยวชาญทางด้านศิลปะอย่างโงหัวไม่ขึ้น คริสเตียนมักจะแอบครอบครัวเข้าไปพบปะพูดคุยกับเหล่าผู้เชี่ยวชาญทางด้านศิลปะอยู่บ่อยครั้ง
หนึ่งในนั้นยังรวมไปถึงจิตรกรรมระดับโลกอย่าง ปิกัสโซ่ อีกด้วย
แต่พ่อของเขาได้ออกคำขาดกับเส้นทางชีวิตของเขาด้วยการบังคับให้เรียนวิชานักการฑูตแต่เขาก็ไม่ประสบความสำเร็จ พ่อของเขาจึงยอมล้มเลิกความตั้งใจ หลังจากนั้นคริสเตียนก็ได้เริ่มเปิดห้องแสดงภาพเขียนเป็นของตัวเอง ครอบครัวเขายังยึดติดกับค่านิยมที่รับไม่ได้กับอาชีพค้าขายด้อยค่าเช่นนี้ หากในช่วงแรกนั้น กิจการแกลอรี่เป็นไปได้อยากราบรื่น จนกระทั่งเมื่อคริสเตียนต้องสูญเสียแม่ อีกหนำซ้ำยังโชคร้ายที่พ่อของเขายังต้องประสบกับสภาวะล้มละลายจากตลาดหุ้น ดังนั้นแล้วไม่เพียงแต่แกลอรี่ของเขาที่ต้องปิดตัวลงอย่างน่าเสียดาย เขาไม่ต่างจากคนไร้บ้าน
คริสเตียนพัฒนาฝีมือด้านการออกแบบอยู่ภายในห้องใต้หลังคาของบ้านเพื่อนคนนี้ เขาขายงานออกแบบหมวก และเสื้อผ้าให้กับ Haute Couture House กระทั่งฟ้ามีตา ส่งให้ผลงานของเขานั้นกลายเป็นที่นิยม และขายดีอย่างมาก จนทำให้คริสเตียนมีรายได้พอที่จะส่งเสียให้พ่อกับน้องของตัวเอง และอย่างที่ใครเขาว่ากัน ฟ้าหลังฝนสวยงามเสมอ เมื่อในที่สุดผลงานของคริสเตียนได้ไปเข้าตาของ โรเบิร์ต ปิเกต์ ดีไซเนอร์ชื่อดังในสมัยนั้น จึงได้มาทำงานร่วมกันเมื่อปี 1938 ในวัย 33 ปี จนทำให้เขาเป็นที่รู้จักมากขึ้น
ในปี ค.ศ. 1947 คริสเตียน ดิออร์ ได้เปิดตัวแฟชั่นแนวใหม่ที่เราทุกคนต่างรู้จักกันในนาม “New Look” แฟชั่นที่ได้รับความนิยม ด้วยการริเริ่มให้เหล่าสุภาพสตรีแห่งยุโรปกลับมาแต่งตัวสวยได้อีกครั้ง หลังจากความรวดร้าวและความเบื่อหน่ายเต็มทนจากสงครามโลกครั้งที่ 2 กับดีไซน์อันเป็นเอกลักษณ์ เสื้อไหล่แคบ ที่มาพร้อมกับกระโปรงยาว ซึ่งเหล่านี้เองที่มาแทนที่ เสื้อรูปแบบไหล่กว้างและกระโปรงสั้นทรงตรงในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 อีกทั้งแนวความคิดในครั้งนี้ยังได้สร้างสรรค์ออกมาเป็นคอลเล็กชั่น ซึ่งจะเน้นไปถึงการออกแบบเสื้อผ้าที่หรูหรา กับกระโปรงฟูฟ่องบานที่จะทำให้ผู้หญิงรู้สึกสดชื่นราวกับดอกไม้ ได้รับอิทธิพลเอเชียอย่างประเทศญี่ปุ่น ทำให้นิวลุคมีกลิ่นอายแบบโอเรียนทัล (สังเกตได้จากหมวก) และผลงานชุดนี้ของเขานั้นก็ได้สร้างชื่อให้แก่เขา จนเขาได้รับการขนานนามว่าเป็นดั่ง Style Dictator
ในช่วงยุคสุดท้ายของคริสเตียน ดิออร์ เขายังผลิตผลงานใหม่ๆ ออกสู่ตลาดแฟชั่นอยู่ไม่ขาดสาย ที่ยังคงให้ความสนใจ และใส่ใจในฝีมือการตัดเย็บ ผลงานการออกแบบของเขา ไม่ว่าจะเป็น New Look , Oval Line , Open Tulip , Long Line ,Tulip Line, หรือ A Line , H Line ล้วนแล้วแต่เน้นความละเอียดอ่อนในการตัดเย็บด้วยกันทั้งสิ้น กระทั่งในช่วงฤดูใบไม้ร่วงปี 1957 คริสเตียน ดิออร์ ยังได้สร้างสรรค์ผลงานชิ้นโบว์แดงอย่าง Fuseau Collection หรือ Spindle ออกมา เพื่อเป็นดั่งจดหมายลา จดจารึกไว้ที่เป็นผลงานชิ้นสุดท้ายทิ้งไว้บนโลกแฟชั่น ก่อนที่คริสเตียนจะเสียชีวิตลงด้วยโรคหัวใจเมื่ออายุได้ 52 ปี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น